เปิดตัวโครงการ “AirForAll – ลดการเผา เพื่ออากาศสะอาด” นำร่องพื้นที่วิจัย“การลดไฟในป่า

เปิดตัวโครงการ “AirForAll – ลดการเผา เพื่ออากาศสะอาด” นำร่องพื้นที่วิจัย“การลดไฟในป่า

เปิดตัวโครงการ “AirForAll – ลดการเผา เพื่ออากาศสะอาด” นำร่องพื้นที่วิจัย“การลดไฟในป่ากรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย สำนักงานวิจัยแห่งชาติให้ 37 ล้านภายใน 1 ปี

วันที่ 21 มีนาคม 2568 โครงการ “AirForAll – ลดการเผา เพื่ออากาศสะอาด” โดยแผนงาน “การลดไฟในป่ากรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแก้ปัญหา นโยบายและการสื่อสารเชิงรุก” ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ณ โรงแรมเซนทาราริเวอร์ไซด์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมในด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีการมุ่งเน้นแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 อย่างเร่งด่วน ทั้งแบบบูรณาการและมุ่งเป้า รวมทั้งมีการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ซึ่งนำไปสู่ การดำเนินงานแผนงาน “การลดไฟในป่ากรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแก้ปัญหา นโยบายและการสื่อสารเชิงรุก”

การวิจัยในครั้งนี้จึงถือเป็นก้าวสำคัญในการเชื่อมโยงงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนสำคัญของประเทศ โดยมุ่งเน้นการบูรณาการการเชื่อมโยงการวิจัยนวัตกรรมและการใช้ประโยชน์ประกอบด้วย 7 โครงการย่อย ครอบคลุม 3 มิติ คือ 1. มิติการลดไฟในภาคป่าไม้ 2. มิติการเชื่อมโยงระบบข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแก้ปัญหา และ 3. มิตินโยบายและการสื่อสารเชิงรุก  เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแก้ปัญหาโดยดำเนินโครงการร่วมทั้งในพื้นที่ศึกษาอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยและเน้นการศึกษาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่มุ่งเน้นสำหรับการแก้ไขปัญหา

สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบไปด้วย พิธีเปิดงาน งานแถลงข่าว การเสวนาวิชาการ การนำเสนอผลการวิจัย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการจัดแสดงนิทรรศการภายในงาน

พิธีเปิดโครงการ เริ่มต้นด้วยการกล่าวรายงาน โดย รศ.ดร.สมพร จันทระ ผู้อำนวยการแผนงานฯ ตามด้วยการกล่าวต้อนรับจากผู้มีเกียรติหลายท่าน นายศิวกร บัวป้อง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่, ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งเป็นผู้ที่กล่าวเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ

รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ หัวหน้าแผนงานฯ ในระหว่างการเปิดโครงการ รศ.ดร.สมพร จันทระ ได้รายงานถึงการดำเนินโครงการที่มุ่งเน้นการบูรณาการงานในหลายมิติ โดยเฉพาะการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการสนับสนุนการตัดสินใจ และการสื่อสารเชิงรุก เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยเน้นที่การลดไฟในภาคป่าไม้และการปรับปรุงนโยบายเพื่อผลลัพธ์ที่ยั่งยืนในระยะยาว โครงการนี้ประกอบไปด้วย 7 โครงการย่อยใน 3 มิติหลัก ได้แก่ มิติการลดไฟในภาคป่าไม้ มิติการเชื่อมโยงระบบข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ และมิตินโยบายและการสื่อสารเชิงรุก โดยโครงการนี้จะมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยและจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงการทำงานจากหลายภาคส่วนในพื้นที่เพื่อลดปัญหาฝุ่น PM2.5

นายศิวกร บัวป้อง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ในนามของฝ่ายปกครองจังหวัดเชียงใหม่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 โดยเฉพาะการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่และเทคโนโลยีเพื่อการตัดสินใจที่แม่นยำและยั่งยืน พร้อมขอบคุณสำนักงานการวิจัยแห่งชาติที่ได้สนับสนุนทุนวิจัยและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ร่วมมือในโครงการนี้

รศ.ประเสริฐ ฤกษ์เกรียงไกร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการดำเนินโครงการวิจัยนี้ และการพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 โดยเน้นย้ำถึงการใช้แนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ พร้อมทั้งส่งเสริมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวในพิธีเปิดว่า ฝุ่นละออง PM2.5 ถือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง การแก้ไขปัญหานี้จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่และเทคโนโลยีขั้นสูงในการสนับสนุนการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ การเปิดตัวโครงการนี้จึงเป็นก้าวสำคัญในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศ

 

You may also like

สมาคมการค้าผู้ประกอบการภาคเหนือเปิดตัวอย่างเป็นทางการ มุ่งเป้าส่งเสริมและช่วยเหลือและพัฒนาสมาชิกให้เข้าถึงแหล่งความรู้และแหล่งทุน

จำนวนผู้