เชียงใหม่เปิดเวทีรับฟังความเห็นสร้างความปรองดองเริ่ม 1 มี.ค.กลุ่มแรกผู้นำองค์กรท้องถิ่นทั้งเจาะจงและเปิดให้เสนอตัว

เชียงใหม่เปิดเวทีรับฟังความเห็นสร้างความปรองดองเริ่ม 1 มี.ค.กลุ่มแรกผู้นำองค์กรท้องถิ่นทั้งเจาะจงและเปิดให้เสนอตัว

- in headline, จับกระแสสังคม

กอ.รมน.จังหวัดเชียงใหม่จัดเวทีรับฟังความเห็นสร้างความปรองดอง แยก 4 กลุ่มหลักใน 6 ครั้ง เริ่ม 1 มี.ค.เปิดเวทีให้ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลุ่มแรก เผยมีทั้งเจาะจงและเปิดให้เสนอตัวเข้าร่วม ชี้ไม่ใช่เวทีสร้างความขัดแย้ง ยันฝ่ายรัฐมีหน้าที่รับฟังไม่ตอบไม่แย้งพร้อมเปิดให้พูดเต็มที่พร้อมจดทุกอักษรที่ห้องประชุมหอประชุมฉลิมพระเกียรติอาคาร 80 พรรษา นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ในฐานะผู้อำนวยการ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.)จังหวัดเชียงใหม่พร้อมด้วย พ.อ.โรมรัน ชูก้าน รองผอ.กอ.รมน.ฝ่ายทหาร จังหวัดเชียงใหม่และนายชูชีพ พงษ์ไทย หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ได้ร่วมกันแถลงข่าวการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองในระดับพื้นที่ ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นจังหวัดแรกที่ดำเนินการตามนโยบาย พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาร  ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะผู้อำนวยการ  กอ.รมน. ภายในราชอาณาจักร ที่ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 1-4 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดทุกจังหวัดดำเนินการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองในระดับพื้นที่นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผวจ.เชียงใหม่ กล่าวว่า สำหรับจังหวัดเชียงใหม่และกอ.รมน.จังหวัด จะจัดเวทีดังกล่าว 6 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 1 มีนาคม ครั้งที่ 2 วันที่ 3 มีนาคม ครั้งที่ 3 วันที่ 8 มีนาคม ครั้งที่ 4 วันที่10 มีนาคม ครั้งที่ 15 วันที่ 15 มีนาคม และครั้งสุดท้าย วันที่ 17 มีนาคม โดยใช้สถานห้องประชุมเล็ก หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ด้านหลังศาลากลางจังหวัด โดยเชิญผู้ร่วมประชุม 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มการเมืองท้องถิ่น ได้แก่ กลุ่มสนับสนุนพรรคการเมือง กลุ่มทุนทางการเมือง กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น กลุ่มแกนนำมวลชนทางการเมือง เป็นต้น กลุ่มที่ 2 นักวิชาการ นักศึกษา สื่อมวลชน กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม (CSOs) กลุ่มที่มีอุดมการณ์ทางการเมือง เป็นต้น กลุ่มที่ 3 กลุ่มข้าราชการกำนันผู้ใหญ่บ้านพนักงานรัฐวิสาหกิจหอการค้าจังหวัดกลุ่มองค์กรที่ทำงานทั้งร่วมกันกับส่วนราชการ เป็นต้นกลุ่มที่ 4 กลุ่มผู้นำชุมชน ผู้นำจิตวิญญาณ ชาวบ้านทั่วไป กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง กลุ่มคนในท้องถิ่นที่ได้รับความเดือดร้อนจากโครงการของรัฐ และกลุ่มสาขาอาชีพ เป็นต้น กลุ่มละ 50 คน รวม 200 คน โดยครั้งแรก ได้เลือกผู้นำท้องถิ่น อาทิ นายก ผู้บริหาร สมาชิกสภา ท้องถิ่น  เข้าร่วมประชุม เป็นกลุ่มแรกก่อน และเป็นเวทีปิดไม่อนุญาตให้คนภายนอกหรือสื่อมวลชนร่วมรับฟัง“ประเด็นหัวข้อที่จะพูดคุยมี 10 เรื่อง อาทิ การเมือง การปกครอง ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม การพัฒนาแหล่งน้ำ กระบวนการยุติธรรม การศึกษา สาธารณสุขสื่อมวลชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต่างประเทศ สิทธิมนุษยชน การทุจริตหรือคอรัปชั่น  พร้อมเสนอแนะการปฏิรูปประเทศ เพื่อทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ ระยะ 20 ปีข้างหน้า ซึ่งเวทีดังกล่าวจัดแบบโต๊ะสี่เหลี่ยม คล้ายโต๊ะกลมเพื่อให้พูดคุยกันทุกประเด็น แต่ละครั้งเชิญผู้เข้าประชุม 30-40 คน เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทุกเรื่อง “ นายปวิณ กล่าวและชี้แจงด้วยว่า เวทีนี้ไม่ใช่เวทีความขัดแย้ง เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้าร่วมประชุมจะเป็นผู้พูดฝ่ายเดียว ผู้ว่าฯ และเจ้าหน้าที่กอ.รมน.และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่นั่งฟัง จดข้อเสนอแนะ แต่จะไม่ตอบคำถาม และการพูดคุยก็อยากให้จบในห้องประชุม ไม่ให้นำไปพูดข้างนอกหรือพูดต่อ พูดแล้วต้องจบเพราะเป็นเวทีสร้างสามัคคีปรองดอง ทั้งนี้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจะมีการวิเคราะห์ ประมวลผลของจังหวัดเพื่อนำไปรวมกับระดับภาค เพื่อส่งให้กองทัพภาคที่ 3 และ กอ.รมน.ส่วนกลาง ภายในวันที่ 21-22 มีนาคมนี้ด้านพ.อ.โรมรัน กล่าวว่า สำหรับตัวแทนที่จะเข้าร่วมพูดคุยจะเปิดรับสมัคร โดยให้ผู้ที่สนใจของแต่ละกลุ่มสมัครหรือแจ้งมาที่กอ.รมน.จังหวัดเชียงใหม่โทร.053-112721 ในเวลาราชการและอีกส่วนหนึ่งทางกอ.รมน.จะมีจดหมายเชิญพร้อมกับแนบคำถามทั้ง 10 ประเด็นไปด้วยเพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมได้เตรียมมาพูด ดังนั้นเวทีนี้จะมีทั้งผู้ที่เชิญเข้ามาและสมัครเข้ามา กลุ่มละประมาณ 50 คน แต่เป้าหมายจริงๆ คือ 200 คนบางกลุ่มอาจจะไม่ถึง ผู้ที่ได้รับจดหมายเชิญอาจจะไม่มาก็ได้ถ้าไม่เต็มใจ และครั้งนี้ถือเป็นการจัดเวทีครั้งที่ 1 ซึ่งหลังจากสรุปส่งส่วนกลางแล้วอาจจะมีครั้งที่ 2 ก็ได้.

You may also like

ม้งดอยปุยและเครือข่ายม้ง 12 หมู่บ้านประกาศปิดป่าตั้งแต่ก.พ.-พ.ค.ห้ามคนนอกเข้าพื้นที่ พร้อมทำแนวกันไฟตั้งแต่ 5-15 ก.พ.68

จำนวนผู้