กศ.สร้างความเป็นอื่นในชาติพันธุ์ นักวิชาการแนะต้องผสานศาสตร์สากลกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

กศ.สร้างความเป็นอื่นในชาติพันธุ์ นักวิชาการแนะต้องผสานศาสตร์สากลกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

เชียงใหม่ (19 เม.ย.60) / นักศึกษา-นักวิชาการ เห็นพ้อง ระบบการศึกษาไทย ไม่เอื้อต่อพหุวัฒนธรรม ก่อให้เกิดความแปลกแยก สร้างความเป็นอื่นในชาติพันธุ์  แนะทางออกต้องบูรณาการความรู้แบบผสมผสาน ทั้งศาสตร์สากล ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการศึกษาฐานชุมชน ทั้งสายสามัญ อาชีวศึกษา เข้าด้วยกัน

เมื่อเวลา 09.00-12.00 น. ที่ห้อง EB 4509 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทางกลุ่มพลเรียน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมกับ สาขาสังคมศาสตร์และพื้นฐานการศึกษา ภาควิชาพื้นฐานและการพัฒนาการศึกษา มช. และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนาเรื่อง “การศึกษาชาติพันธุ์ และความเป็นอื่น” วิทยากรประกอบด้วย ดร.ชิตชยางค์  ยมาภัย  สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล, ดร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา คณะสังคมศาสตร์ มช., นายสอาด คำตัน ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 4, และ นายสฐการ รุจิเรศไพรวัลย์ ชมรมนักศึกษาชาติพันธุ์ มช. ดำเนินรายการโดย ดร.นันท์นภัส แสงฮอง จากคณะศึกษาศาสตร์ มช.ดร.ชิตชยางค์ กล่าวถึง ประสบการณ์เกี่ยวกับการศึกษาชาติพันธุ์และความเป็นอื่นของตนเองเมื่อ 10 ปีที่แล้วว่า การศึกษาทำให้เป็นอื่นหรือช่วยไม่ให้เป็นอื่นได้ ที่ผ่านมามีโอกาสศึกษาชาวลัวะ (ละเวือ) ชาวกะเหรี่ยง (ปกากะญอ) ใน จ.เชียงใหม่ ชาวไทยทรงดำ (ไทดำ) จ.เพชรบุรี และ จ.นครปฐม ซึ่งข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์นั้น คือ ความเป็นอื่นเกิดจากอาการรักทางการเมือง และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประกอบกับนโยบายของครอบครัวเองก็มีส่วน เช่นครอบครัวต้องการผลักดันให้ลูกออกจากสังคมเกษตร และยิ่งเข้ากับสังคมไทยมากเพียงใด ก็จะยิ่งแปลกแยกจากถิ่นฐานบ้านเกิดมากเท่านั้น ทั้งนี้ การศึกษาจะช่วยคลี่คลาย ความแตกต่างและความเป็นอื่น โดยพหุลักษณ์ทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น ความรู้แบบผสมผสาน ทั้งศาสตร์สากล ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนการศึกษาฐานชุมชน ทั้งสายสามัญและอาชีวศึกษา ควรมีการบูรณาการร่วมกัน

ดร.ประสิทธิ์ กล่าวว่า หลายคนมักมองว่ากลุ่มชาติพันธุ์ คือคนที่อาศัยอยู่บนเขาบนดอย แต่คนเหนือ อีสาน คนมอญ คนจีน คนไทยลื้อ หรือคนไทยยอง ก็เป็นชาติพันธุ์เช่นกัน ที่ผ่านมาผู้มีอำนาจทางการเมืองการปกครอง จะมองกลุ่มคนเหล่านี้ว่าไม่ใช่คนไทย และคิดถึงความมั่นคงของรัฐเป็นหลัก ทั้งนี้ นโยบายการศึกษาภาคบังคับของรัฐนั้น มีเป้าหมายให้อ่านออกเขียนได้ และนำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพ แต่ขณะเดียวกันสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ก็ไม่เอื้อต่อพหุวัฒนธรรม ช่วงเช้าต้องเข้าแถวร้องเพลงชาติ สวดมนต์ไหว้พระ สมเครื่องแบบนักเรียน วันสำคัญทางพุทธศาสนาก็นำนักเรียนเข้าวัดทำบุญ  อีกด้านหนึ่งกลุ่มคนที่ขาดโอกาสด้านการศึกษาจากรัฐ กลับถูกมองว่าไร้การศึกษา ทั้งที่กลุ่มดังกล่าวอาจมีการศึกษาในรูปแบบของตนเอง เช่น การเรียนที่วัด หรือการเรียนรู้ตามวัฒนธรรมท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ยิ่งเรียนสูงยิ่งอยากเป็นคนไทยมากขึ้น แต่กลับเป็นคนอื่นในครอบครัว และสังคมของตนเองด้านนายสอาด กล่าวถึงประสบการณ์ในการทำงาน  ทั้งใน จ.น่าน และ จ.เชียงราย ซึ่งมีโอกาสอยู่ร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น กลุ่มมูเซอ ม้ง กะเหรี่ยง ลีซอ ซึ่งที่ จ.น่าน สังเกตได้ว่ากลุ่มชาติพันธุ์เอง ยังมีความเป็นอื่น ในการมองกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เช่น มองกลุ่มมราบรี หรือตองเหลือง เป็นผี  ทั้งนี้ การสร้างความเป็นอื่นในชาติที่ผ่านมานั้น อาจเกิดจากวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมทั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยด้วย หากในการศึกษาควรอยู่บนพื้นฐานของการสร้างสรรค์  ไม่ใช่สร้างความเป็นอื่น เช่น นโยบายโรงเรียนวิถีพุทธ เป็นต้น ทั้งนี้ควรมีการเรียนรู้วัฒนธรรม และแนวทางเรียนรู้ร่วมกัน โดยการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

นายสุฐการ เล่าว่า เป็นคนกะเหรี่ยงโดยกำเนิด ในช่วงมัธยมต้น เมื่อมีโอกาสเข้ามาศึกษาในเขต อ.จอมทอง ช่วงแรกมักโดนเพื่อนล้อว่าพูดไม่ชัด จนทำให้รู้สึกอาย และไม่กล้าพูดคุยกับใคร กระทั่งช่วง ม.ปลาย มีโอกาสได้เจอเพื่อนกะเหรี่ยงเหมือนกัน แต่กลับไม่กล้าพูดภาษากะเหรี่ยงต่อกัน เนื่องจากเกรงว่าจะถูกล้อ ประสบการณ์เช่นเดียวกันนี้ ทำให้เพื่อนชาวกะเหรี่ยงบางรายอาย ไม่อยากกลับบ้าน และไม่อยากให้ใครรู้ว่าเป็นกะเหรี่ยง เมื่อพบเจอคนบ้านเดียวกันเข้ามาในตัวอำเภอ ก็จะพยายามหลบหน้า จนถูกเพื่อนบ้านมองว่าทำตัวเป็นอื่น อย่างไรก็ตาม โรงเรียนเองก็รู้ว่ามีนักเรียนเป็นชาวชาติพันธุ์ แต่ไม่เคยให้โอกาส หรือเวทีแสดงออกทางอัตลักษณ์ หรือให้เปิดเผยตัวตนแบบไม่ต้องอาย.

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้