อ.เชียงม่วนชู”บ้านทุ่งเจริญ”สู่ต้นแบบลดละเลิกเหล้าในชุมชน

อ.เชียงม่วนชู”บ้านทุ่งเจริญ”สู่ต้นแบบลดละเลิกเหล้าในชุมชน

ะเยา เป็นจังหวัดที่มีประชากรไม่ถึง 5 แสนคน หากรายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด ปี 2554 กลับระบุชัดเจนว่า จ.พะเยา มีประชากรดื่มสุรามากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ และเชียงม่วน คืออำเภอที่มีการเสพสุรามากที่สุดของจังหวัด ทำให้ผู้นำชุมชนหลายคนเริ่มตื่นตัว มองหาทางออกของปัญหา กระทั่ง “เทวา ปัญญาบุญ นายอำเภอเชียงม่วนขณะนั้น ประกาศเป็นวาระอำเภอปลอดเหล้า ให้แต่ละหมู่บ้านหาวิธีการลดละเลิกเกษมสันต์ ช่างสาร ผู้ใหญ่บ้านทุ่งเจริญ หมู่ 11 ต.บ้านมาง อ.เชียงม่วน จ.พะเยา เอ่ยถึงจุดริเริ่มโครงการ โดยในส่วนของบ้านทุ่งเจริญ หมู่ 11 ต.บ้านมาง ได้ประชุมกับเครือข่าย และมีการเสนอให้ลดการจำหน่ายสุราในหมู่บ้าน จึงหารือกับผู้ประกอบการ ร้านค้าที่จำหน่ายสุรา ตกลงกันว่าจะไม่จำหน่ายเหล้าเถื่อนในเขตหมู่บ้านอีกต่อไป ถ้าพบจะปรับ 1,000 บาท

“ปี 2558 บ้านทุ่งเจริญได้เป็นหมู่บ้านต้นแบบลดเหล้าของ อ.เชียงม่วน ในปี 2559/2560 จึงขอรับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนัก 6 ทำโครงการลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนบ้านทุ่งเจริญ เพื่อเติมเต็มศักยภาพของหมู่บ้านในการดำเนินกิจกรรมปลอดเหล้ามากขึ้น” ผู้ใหญ่บ้านคนเดิม กล่าวกิจกรรมที่แกนนำ และชาวบ้านร่วมกันทำ เริ่มจากการแบ่งหมู่บ้านเป็น 5 คุ้ม มีคณะทำงานทุกคุ้ม โดยวางเป้าหมายทำให้ประชาชนลดเหล้าได้ 50% ทุกเดือนคณะทำงานต้องรายงานผู้ใหญ่บ้าน ว่าในคุ้มมีจุดไหนดื่มเหล้าบ้าง ซึ่งจากสถิติเดิมในปี 2558 พบ 9 จุดใหญ่ ส่งผลให้มีผู้ป่วยจิตเวชถึง 3 คน จึงขอรับการสนับสนุนจาก รพ.สต.บ้านมาง จนผู้ป่วยหาย และเลิกดื่ม ส่วนการดำเนินกิจกรรมในแต่ละคุ้ม ล่าสุดมีรายงานว่ายังเหลือการดื่มเหล้าใน 3 จุดใหญ่ ขณะเดียวกันก็ออกกฎระเบียบในหมู่บ้านร่วมกัน 11 ข้อ อาทิ งดใช้เสียงงานรื่นเริงหลัง 3 ทุ่ม หากฝ่าฝืนจะถูกปรับ ทำให้ชาวลดการมั่วสุมดื่มเหล้ากันโดยปริยาย นอกจากนี้ยังงดสุราในงานศพ 1000% พร้อมทั้งห้ามดื่มในรัศมี 50 เมตร เมื่อพ้นระยะสามารถดื่มได้แต่ต้องลับตาคน ห้ามมองเห็น ยกเว้นก่อนวันฌาปนกิจ 1 วัน ให้ดื่มได้ แต่ต้องกินในบ้านใหม่ที่สร้างถวายให้ผู้ตาย และจำกัดจำนวนตามที่จัดวางไว้ เช่น 2 ขวด เป็นต้นสำหรับงานผ้าป่า กฐิน วันเกิด มีการขอร้องเจ้าภาพไม่ให้จัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้จูงมือกันไปทำบุญที่วัดแทน รวมทั้งห้ามจำหน่ายสุราเถื่อน และห้ามจัดตั้งโรงกลั่นสุราชุมชนในเขตหมู่บ้านด้วย มีการใช้กฎหมายเข้ามาบังคับอย่างเข้มงวด ประสานกับตำรวจ สาธารณสุข สรรพสามิต ออกสุ่มตรวจ ห้ามจำหน่ายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย ป้ายไวนิล เดินรณรงค์ร่วมกับ รพ.สต.บ้านมาง, อำเภอ, ตำรวจ, ทหาร, สาธารณสุข, วัด, โรงเรียน ให้เด็กนักเรียนทำหมวกเขียนคำขวัญเลิกเหล้าใส่ปั่นจักรยาน ใช้ไลน์กลุ่มประชาสัมพันธ์ผ่านกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน อ.เชียงม่วน กลุ่มฮักเชียงม่วน และกลุ่มโครงการขนาดเล็กของ สสส.ผู้ใหญ่บ้านทุ่งเจริญ เล่าว่า จากการดำเนินงานมา 2 ปีอย่างต่อเนื่อง พบว่าในงานศพสามารถประหยัดค่าเหล้าได้ประมาณ 5,000-10,000 บาท/งาน จึงเริ่มขยายไปงานขึ้นบ้านใหม่ ก็ลดค่าใช้จ่ายได้ 50,000-60,000 บาท พอลงรายละเอียดค้นหาคนในหมู่บ้านที่ยังดื่มหนัก ปรากฏว่ามีถึง 10 คน เมื่อนำตัวเข้ารับการบำบัดรักษา เลิกเหล้าได้ 6 คน ส่วนในภาพรวมของชุมชน เกิดบุคคลต้นแบบที่เลิกดื่มเหล้าเด็ดขาด 11 คน และยังมีสารวัตรสุรา ที่คอยดูแลในหมู่บ้าน ถ้าพบคนเมาจากต่างถิ่นมาร่วมงานต่างๆ อาจพาตัวไปส่งบ้าน หรือเก็บกุญแจรถไว้ก่อน ไม่ให้ขับขี่ช่วงที่ยังมีอาการมึนเมานอกจากนี้ ยังมีการใช้สัญลักษณ์สีเขียว-แดง นั่นคือครัวเรือนไหนมีนักดื่ม จะได้สีแดง ซึ่งในหมู่บ้าน 138 ครัวเรือน พบดื่ม 54 ครัวเรือน 56 คน ทั้ง 54 ครัวเรือนก็ได้รับสีแดง พอทำโครงการกับ สสส.ผ่านไปเกือบ 1 ปี เหลือนักดื่ม 18 ครัวเรือน อีก 36 ครัวเรือน เปลี่ยนสัญลักษณ์เป็นสีเขียวแทนเดิน ปิจจวงศ์ ชาวบ้านทุ่งเจริญ วัย 56 ปี ที่ได้รับเลือกเป็นบุคคลต้นแบบเลิกเหล้า บอกว่า ช่วงหนึ่งเคยดื่มเหล้าอย่าหนัก จนถูกเรียก “ขี้เหล้าหลวง” ถ้ามีเหล้าฟรีดื่มในงานต่างๆ เช่น งานศพ แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ มักจะดื่มจนยุบคาวง บางครั้งขี่มอเตอร์ไซด์กลับบ้านก็แฉลบลงข้างทาง ซ้ำลูกชายที่มีอายุ 30 ปีเศษ ก็ยังตามรอยพ่อ ดื่มค่อนข้างหนักเหมือนกัน สร้างความเดือดเนื้อร้อนใจให้กับภรรยาเป็นอย่างยิ่ง

“วันหนึ่งเกิดความคิดว่าทำไมเราต้องทำตัวให้เป็นภาระคนในครอบครัว ชุมชนก็มองด้วยสายตาหวาดระแวง แม้กระทั่งเด็กยังไม่ให้ความเคารพนับถือ จึงอยากเลิกเหล้า และใช้วิธีหักดิบ เพื่อนชวนไปดื่มก็ไม่ไปอีก แต่ยังร่วมงานของชุมชน สังคมได้ตามปกติ เพราะถึงไม่ดื่มเหล้า ก็ฟ้อนแห่นำขบวนในงานบุญต่างๆ ได้เหมือนเดิม” เดิน อธิบายด้วยเสียงกลั้วหัวเราะเขาบอกว่า ตอนนี้เลิกดื่มเหล้ามา 4 ปีเศษ รู้สึกนอนหลับสนิท สุขภาพดีขึ้น ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ครอบครัวก็ดีใจ จากที่เคยถูกภรรยาด่าทุกเย็นก็เลิกด่า มีความเข้าใจกันมากขึ้น ไปที่ไหนสังคมให้การยอมรับ ที่สำคัญลูกชายที่ดื่มหนักพลอยดื่มลดลง และไม่ถี่เหมือนก่อนหน้านี้

ปัญญา ใช้เฮ็ง นายอำเภอเชียงม่วน ย้ำว่าบ้านทุ่งเจริญคือต้นแบบการลดละเลิกเหล้าในชุมชนที่ประสบผลสำเร็จ เพราะ “เริ่มที่ผู้นำ ทำกับแนวร่วม รวมสิ่งจูงใจ” และหลายฝ่าย ก็มองเห็นความพยายามเหล่านี้ ในปี 2560 หมู่บ้านทุ่งเจริญจึงไม่ได้เป็นแค่หมู่บ้านต้นแบบลดเหล้าของ อ.เชียงม่วน เท่านั้น หากยังได้รับรางวัลชนะเลิศระดับจังหวัดอีกด้วยแม้กฎของชุมชนจะดีอยู่แล้ว แต่การขยายผลไปสู่ทั้งอำเภอ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องร่วมมือกัน บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง หากพบเมาแล้วขับรถ ต้องขึ้นศาลและปรับหนัก หรือถ้าลูกอายุต่ำกว่า 15 ทำผิด พ่อแม่ก็ต้องรับโทษร่วม ไม่ว่าจะติดคุกหรือปรับ แต่ทั้งนี้มีการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านรับรู้ และตระหนักก่อน เมื่อชาวบ้านหมู่บ้านอื่นเห็นว่าบ้านทุ่งเจริญทำได้ คณะกรรมการหมู่บ้านของเขาก็มีทำไมถึงทำไม่ได้ ก็จะเกิดการระเบิดจากข้างในในที่สุดผลจากความร่วมมือร่วมใจกัน จากชุมชนสู่ตำบล อำเภอ และจังหวัด ก็ทำให้การสำรวจข้อมูลจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ) ของสำนักงานพัฒนาชุมชน ในหัวข้อ”คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา (ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราว) จ.พะเยา” ครั้งล่าสุด ตกจากอันดับ 1 มาอยู่ที่อันดับ 25  ซึ่งถือเป็นเรื่องน่ายินดี และต้องเร่งขยายผลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ต่อไป.

You may also like

เริ่มแล้วกับงาน“AMAZING CHIANG MAI COUNTDOWN 2025”เข้าชมฟรีททท.คาดเงินสะพัด3.5 พันล้านบาท เผยยอดจองที่พักพุ่งกว่า 91%

จำนวนผู้