โชว์”ชัยศิขริน”ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ในศูนย์ ASEAN Design &Business Center เพื่อต่อยอดสู่ตลาดสากล

โชว์”ชัยศิขริน”ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ในศูนย์ ASEAN Design &Business Center เพื่อต่อยอดสู่ตลาดสากล

- in Exclusive

เยี่ยมสวนสมุนไพรชัยศิขริน หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่จัดแสดงที่ศูนย์ ASEAN Design &Business Center เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่ตลาดสากล

กลุ่มส่งเสริมการประกอบธุรกิจการค้าและการตลาด สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมกิจการบ้านสมุนไพรชัยศิขริน ซึ่งเป็น 1 ในผู้ประกอบการที่มีผลิตภัณฑ์ที่นำมาจัดแสดงที่ศูนย์ ASEAN Design&Business Center ตามโครงการกิจกรรมสื่อมวลชนสัมพันธ์ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอบน 1 (เชียงใหม่,ลำปาง,ลำพูนและแม่ฮ่องสอน)

นางเฟื่องฟ้า ตุลาธรรมกุล พาณิชย์จังหวัดลำพูน กล่าวถึงการส่งเสริมผลักดันให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากศูนย์ ASEAN Design & Business Center และการสนับสนุนผู้ประกอบการในภาพรวมของจังหวัดลำพูนในช่วงปีงบประมาณ 2560 ที่ผ่านมาว่า ทางกระทรวงพาณิชย์ มีนโยบายในการพัฒนาผู้ประกอบการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการพัฒนาหัตถอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สู่สากล ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่องหลายปี เพื่อที่จะให้เกิดการเชื่อมโยงการผลิตไปสู่การตลาดสากล โดยใช้วิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถและเน้นการนำนวัตกรรมมาเพิ่มมูลค่ามาอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในยุคนี้ผู้ประกอบการที่จะก้าวสู่ตลาดสากลได้อย่างสง่าผ่าเผยจะต้องเป็น Eco Economy ด้วย

สำหรับการเปิดศูนย์ ASEAN Design &Business Center ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนสิงหราช อ.เมืองเชียงใหม่ ซึ่งจะเป็นทั้งศูนย์จัดแสดงสินค้าที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์จากประเทศต่างๆ ในอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม เมียนมาร์ ลาว กัมพูชาและประเทศไทย เป็นจุดที่สร้างทางเลือกในการเจรจาธุรกิจ ซึ่งมีการนำเสนอสินค้าจากผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัล Demark Award สินค้าจากกลุ่ม Young Designer สินค้าดาวเด่นหรือ Product Champion และสินค้าที่มีความแตกต่างอย่างสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จาก 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ซึ่งมีการแบ่งหมวดหมู่สินค้าตามคุณสมบัติและจากผู้ประกอบการภาคเหนือกว่า 300 ราย

ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์บ้านสมุนไพรชัยศิขริน ก็เป็นอีก 1 ในความภาคภูมิใจของจังหวัดลำพูน ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่เป็น Local สู่ Global ได้อย่างแท้จริงคือทำธุรกิจในพื้นที่และพร้อมที่จะออกสู่สากล ใช้วัตถุดิบในการผลิตสินค้าที่เป็นออแกนิกส์และยังสามารถเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวในพื้นที่ได้ด้วย คือนักท่องเที่ยวที่มาไหว้พระพุทธบาทตากผ้าแล้วแวะมาช็อปผลิตภัณฑ์ชัยศิขริน ชิมกาแฟและอาหารที่มีไว้บริการครบในพื้นที่ที่ร่มรื่นสวยงามเป็นธรรมชาติ เป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์รัฐบาลในการทำธุรกิจในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วย

ทางด้านนางสายทอง ชัยศิขริน” หรือป้าแดง เจ้าของบ้านสมุนไพรชัยศิขริน ตั้งอยู่ในเขตอ.บ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน กล่าวถึงที่มาของชัยศิขรินว่า  ต้นตระกูลคือคุณพ่อเป็นแพทย์เสนารักษ์ ส่วนคุณปู่ก็เป็นแพทย์แผนโบราณ ดังนั้นในเรื่องของสมุนไพรหรือการรักษานั้นต้นตระกูลจะคลุกคลีมาตลอด และในตัวของคุณแดงเองก็ทำธุรกิจด้านการเกษตร ค้าส่งพืชสวนพืชไร่มาก่อน จนกระทั่งเมื่อลูกๆ เรียนจบแล้วจึงได้คิดที่จะทำธุรกิจของครอบครัวที่ให้คนในครอบครัวมาช่วยกัน จึงได้ทำสวนสมุนไพรเมื่อปี 2547 

“พี่เป็นคนรักสวย รักงามและชอบแบรนด์ๆ หนึ่งและก็มีความใฝ่ฝันที่อยากจะสร้างแบรนด์ของตัวเองขึ้นมาโดยเอาความเป็นไทยเข้าไปในผลิตภัณฑ์นั้น เป็น        แบรนด์เครื่องสำอางสมุนไพร แรกๆ ที่ทำก็มีลองผิด ลองถูกทั้งการผลิต การทดลองใช้และการจำหน่าย จนกระทั่ง 15 ปีที่ทำมาตราบจนถึงวันนี้กว่าที่ชัยศิขรินจะเป็นที่ยอมรับ และได้รับความนิยมและต้องการของตลาด ก็ผ่านความยากลำบากมานานับประการ จากที่คิดค้นทำสูตรเองก็ได้ลูกที่เรียนจบมาช่วยในการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์จนได้คุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ซึ่งจริงๆ อยากบอกทุกคนว่าเราทุกคนทำได้ขอให้มีใจรักและมีความมุ่งมั่น”นางสายทอง ชัยศิขริน กล่าวและว่า

ปัจจุบันชัยศิขรินมีตลาดทั้งในและต่างประเทศ ก็ยอมรับว่าการที่ผู้ประกอบการจะยืนมาถึงจุดนี้ได้ก็ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ แรกๆ ที่ออกไปเปิดตลาดทั้งในและต่างประเทศก็ไปกับทางสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ไปกับกระทรวงพาณิชย์ การไปโรดโชว์ในงานแสดงสินค้าต่างๆ การนำผลิตภัณฑ์ไปให้ทดลองและจัดจำหน่าย ตอนนี้ตลาดต่างประเทศของชัยศิขรินมีที่พม่า จีนและโซนยุโรป ซึ่งก็ทั้งสั่งผลิตภัณฑ์ของชัยศิขรินไปจำหน่ายและใช้รวมทั้งให้เราผลิตแล้วเอาไปติดแบรนด์เองก็มี

นางสายทอง ชัยศิขริน กล่าวอีกว่า สินค้าของชัยศิขรินจะมีผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้า ผิวกายและบำรุงเส้นผม ในส่วนของกำลังการผลิตสามารถผลิตต่อสูตรได้เดือนละ 3-5 พันกระปุก ทางชัยศิขรินก็มีความคาดหวังว่าศูนย์ ASEAN Design &Business Center จะช่วยต่อยอดธุรกิจในยุคภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ให้เติบโตได้มากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มตลาดอาเซียนที่อยากขยายการตลาดให้ได้ถึง 80% เพราะยอดรายได้ปีที่ผ่านมาลดลงกว่าปีก่อนๆ ถึงครึ่งหนึ่งจากที่เคยมีรายได้ปีละกว่า 40 ล้านบาท.

You may also like

คณะแพทยศาสตร์ มช. แถลงข่าว 65 ปี ตอกย้ำบทบาทและความก้าวหน้า

จำนวนผู้