เศรษฐกิจไตรมาส 3 ค่อยๆ ฟื้นตัว ท่องเที่ยวดี แต่ภาคเกษตรชะลอลง ราคาสินค้าหดตัวทำให้รายได้เกษตรลด การบริโภคภาคเอกชนไม่กระจายตัว

เศรษฐกิจไตรมาส 3 ค่อยๆ ฟื้นตัว ท่องเที่ยวดี แต่ภาคเกษตรชะลอลง ราคาสินค้าหดตัวทำให้รายได้เกษตรลด การบริโภคภาคเอกชนไม่กระจายตัว

- in headline, เศรษฐกิจ

แบงก์ชาติเหนือเผยเศรษฐกิจไตรมาส 3 ค่อยๆ ฟื้นตัว ท่องเที่ยวดี ส่งออกชิ้นส่วนขยายตัว แต่ภาคเกษตรชะลอลง ราคาสินค้าหดตัวทำให้รายได้เกษตรลด การบริโภคภาคเอกชนไม่กระจายตัวเหตุข้อจำกัดเรื่องรายได้ หวังไฮซีซั่นจะทำให้ดีขึ้น

นางนวอร  เดชสุวรรณ์ ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานภาคเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย แถลงถึงภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือไตรมาส 3 ปี 2560 ว่า ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป การท่องเที่ยวขยายตัวดีต่อเนื่อง จากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนและกิจกรรมประชุมสัมมนา ผลผลิตอุตสาหกรรมเร่งตัว โดยเฉพาะหมวดเครื่องดื่มเร่งผลิตก่อนการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต ขณะที่หมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งผลิตเพื่อส่งออกขยายตัวดีเช่นเดิม

ในภาคเกษตรผลผลิตพืชสำคัญชะลอลง ราคาสินค้าเกษตรยังคงหดตัว ทำให้รายได้เกษตรกรชะลอ ด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของภาคเอกชนยังไม่กระจายตัว เพราะข้อจำกัดทางด้านรายได้และภาระหนี้การลงทุนภาคเอกชน ในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ฟื้นตัว แต่มีการนำเข้าเครื่องจักรสำหรับการผลิตส่งออกเพิ่มขึ้น ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น       จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามโครงการเพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน

สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำและลดลงจากไตรมาสก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น จากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ภาคการท่องเที่ยว ปรับดีขึ้นต่อเนื่องจากนักท่องเที่ยวจีนเป็นสำคัญ รวมทั้งการจัดประชุมและสัมมนาในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญเพิ่มขึ้น เครื่องชี้การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองท่าอากาศยานเชียงใหม่ จำนวนเที่ยวบินตรงและจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานในภาคเหนือ อัตราการเข้าพักของที่พักแรม และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นและมีทิศทางที่ดี สอดคล้องกับยอดคงค้างสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจโรงแรมและภัตตาคารขยายตัว

ผลผลิตอุตสาหกรรม เร่งตัวเป็นร้อยละ 24.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนสำคัญจากผลผลิตหมวดเครื่องดื่มประเภทที่มีและไม่มีแอลกอฮอล์ เร่งผลิตก่อนการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตในช่วงเดือนกันยายน ด้านผลผลิตอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกขยายตัว ทั้งชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเลนส์ใน smartphone เซ็นเซอร์รถยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน รวมทั้งการผลิตสิ่งทอประเภทผ้าลูกไม้อย่างไรก็ตาม การสีข้าวชะลอลงตามปริมาณวัตถุดิบ

ผลผลิตเกษตรกรรม ชะลอลงเหลือร้อยละ 31.9 จากผลผลิตพืชสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือกเป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ส่วนข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ส่วนลำไยให้ผลผลิตมากกว่าปีก่อน ขณะที่ราคาสินค้าเกษตร หดตัวต่อเนื่องร้อยละ 6.0 ทั้งราคาข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลำไย และสับปะรด ทำให้รายได้เกษตรกร ชะลอลงเหลือร้อยละ 24.0 การบริโภคภาคเอกชน แม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่การใช้จ่ายยังไม่กระจายตัวมากนัก เพราะข้อจำกัดด้านกำลังซื้อ โดยเฉพาะครัวเรือนภาคเกษตรส่วนใหญ่มีหนี้สะสมสูงและรายได้สุทธิอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในภาคเหนือปรับลดลง จากความกังวลเรื่องราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนจากยอดขายสินค้าในชีวิตประจำวันยังคงหดตัว แม้หลายหมวดสินค้าเริ่มปรับดีขึ้นบ้าง อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะจากข้อมูลเบื้องต้นในจังหวัดเชียงใหม่ ก าแพงเพชร และพิษณุโลกยังขยายตัวได้

ภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคเหนือไตรมาส 3 ปี 2560 ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป การท่องเที่ยว ขยายตัวดีต่อเนื่อง จากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนและกิจกรรมประชุมสัมมนา ผลผลิตอุตสาหกรรมเร่งตัว โดยเฉพาะหมวด เครื่องดื่มเร่งผลิตก่อนการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต ขณะที่หมวดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งผลิตเพื่อส่งออกขยายตัวดีเช่นเดิม ในภาคเกษตรผลผลิตพืชสำคัญชะลอลง ราคาสินค้าเกษตรยังคงหดตัว ทำให้รายได้เกษตรกรชะลอ ด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค ของภาคเอกชนยังไม่กระจายตัวเพราะข้อจำกัดทางด้านรายได้และภาระหนี้ การลงทุนภาคเอกชนในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ฟื้นตัว แต่มีการนำเข้าเครื่องจักรสำหรับการผลิตส่งออกเพิ่มขึ้น ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้น จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามโครงการเพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน

สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจภาคเหนืออยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำและลดลงจากไตรมาสก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น จากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือ มีดังนี้ ภาคการท่องเที่ยว ปรับดีขึ้นต่อเนื่องจากนักท่องเที่ยวจีนเป็นสำคัญ รวมทั้งการจัดประชุมและสัมมนา ในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญเพิ่มขึ้น เครื่องชี้การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ จำนวนเที่ยวบินตรงและจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานในภาคเหนือ อัตราการเข้าพักของ ที่พักแรม และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหมวดโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นและมีทิศทางที่ดี สอดคล้องกับยอดคงค้าง

สินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจโรงแรมและภัตตาคารขยายตัว ผลผลิตอุตสาหกรรม เร่งตัวเป็นร้อยละ 24.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนสำคัญจากผลผลิตหมวด เครื่องดื่มประเภทที่มีและไม่มีแอลกอฮอล์ เร่งผลิตก่อนการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตในช่วงเดือนกันยายน ด้านผลผลิต อุตสาหกรรมเพื่อส่งออกขยายตัว ทั้งชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเลนส์ใน smartphone เซ็นเซอร์รถยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน รวมทั้งการผลิตสิ่งทอประเภทผ้าลูกไม้อย่างไรก็ตาม การสีข้าวชะลอลงตามปริมาณวัตถุดิบ ผลผลิตเกษตรกรรม ชะลอลงเหลือร้อยละ 31.9 จากผลผลิตพืชสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือกเป็นช่วงปลายฤดู เก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ส่วนข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ส่วนลำไยให้ผลผลิตมากกว่าปีก่อน

ขณะที่ราคาสินค้าเกษตร หดตัวต่อเนื่องร้อยละ 6.0 ทั้งราคาข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลำไย และสับปะรด ทำให้รายได้ เกษตรกร ชะลอลงเหลือร้อยละ 24.0 การบริโภคภาคเอกชน แม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน แต่การใช้จ่ายยังไม่กระจายตัวมากนัก เพราะข้อจำกัดด้านกำลังซื้อ โดยเฉพาะครัวเรือนภาคเกษตรส่วนใหญ่มีหนี้สะสมสูงและรายได้สุทธิอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในภาคเหนือปรับลดลง จากความกังวลเรื่องราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนจากยอดขายสินค้าในชีวิตประจำวันยังคงหดตัว แม้หลายหมวดสินค้าเริ่มปรับดีขึ้นบ้าง อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายเพื่อซื้อ ยานพาหนะจากข้อมูลเบื้องต้นในจังหวัดเชียงใหม่ กำแพงเพชร และพิษณุโลกยังขยายตัวได้

การใช้จ่ายภาครัฐ กลับมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามโครงการเพื่อพัฒนาการ เกษตรอย่างยั่งยืนเร่งเบิกจ่ายในช่วงต้นไตรมาส ช่วยกระจายเม็ดเงินสู่กลุ่มฐานรากทั้งการจ้างงานและซื้อวัสดุอุปกรณ์ ภายในชุมชน สำหรับการเบิกจ่ายงบลงทุนหดตัวน้อยลง จากการจัดหาครุภัณฑ์และมีความคืบหน้าการเบิกจ่ายโครงการ กลุ่มจังหวัด และการก่อสร้างของหน่วยงานต่างๆ อย่างไรก็ตาม เงินโอนค่าก่อสร้างให้แก่ท้องถิ่นยังลดลง รวมทั้งบางโครงการ ยังเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมาย

การส่งออก กลับมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนสำคัญจากการค้าชายแดนขยายตัวในสินค้า ประเภทผลไม้สด ข้าวสาร และเนื้อสัตว์แช่แข็งไป สปป.ลาว และจีนตอนใต้ ขณะที่การส่งออกไปสหภาพเมียนมาหดตัวน้อยลง สำหรับการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไปเยอรมนี สหรัฐอเมริกา และเอเชียขยายตัวดี ด้านการนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 จากการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่นำมาผลิตเพื่อส่งออก และการนำเข้ากระแสไฟฟ้าจาก สปป.ลาว การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังซบเซา ยอดคงค้างสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ที่ให้แก่ผู้ประกอบการและยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อน

อย่างไรก็ดีเครื่องชี้การก่อสร้างประเภท พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตและนอกเขตเทศบาลขยายตัวในกลุ่มบ้านเดี่ยว การลงทุนในภาคการผลิตขยายตัว ในอุตสาหกรรมผลิตเพื่อส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และสินค้าเกษตรแปรรูป โดยมีการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้น เสถียรภาพเศรษฐกิจภาคเหนือโดยทั่วไป อยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงาน อยู่ในระดับต่ำและปรับลดลง จากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 0.97 การจ้างงานนอกภาคเกษตรหดตัวน้อยลง โดยเฉพาะภาคการผลิตต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อทั่วไป กลับมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.29จากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับเพิ่มขึ้น และราคาอาหารสดหดตัวน้อยลง

ภาคการเงิน ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2560 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือมียอดคงค้างเงินให้สินเชื่อ 585,867 ล้านบาท ปรับดีขึ้นมาขยายตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.7 ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในภาคเหนือตอนบน จากความต้องการสินเชื่อ ในธุรกิจค้าส่งค้าปลีก การผลิต โรงแรมที่พัก ก่อสร้าง และบริการด้านสุขภาพ ส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับธุรกิจที่สินเชื่อยังหดตัวอยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจการเงิน ภาคเกษตรกรรมและขนส่ง ด้านยอดคงค้างเงินฝากมี 641,941 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ใกล้เคียงไตรมาสก่อน ทั้งนี้ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเท่ากับร้อยละ 91.3 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ผอ.อาวุโสธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ กล่าวว่า ยังมีปัจจัยสนับสนุนทั้งด้านการท่องเที่ยวที่เขา้สู่ High Season และภาคการผลิตเพื่อส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงผลผลิตเกษตรสำคัญออกสู่ตลาดในชว่งปลายปี แต่ก็ยังมีความท้าทายในเรื่องของราคาสินค้าเกษตร และภาระหนี้ครัวเรือนเกษตร ตลอดจนถึงภัยธรรมชาติที่มาเป็นตัวแปรด้วย

You may also like

เริ่มแล้วกับงาน“AMAZING CHIANG MAI COUNTDOWN 2025”เข้าชมฟรีททท.คาดเงินสะพัด3.5 พันล้านบาท เผยยอดจองที่พักพุ่งกว่า 91%

จำนวนผู้