ปลื้ม 1 ปีโครงการ Lanna Thai Coffee Hub บรรลุเป้าหมายใน 8 กิจกรรมตอบสนองความต้องการตลาดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า

ปลื้ม 1 ปีโครงการ Lanna Thai Coffee Hub บรรลุเป้าหมายใน 8 กิจกรรมตอบสนองความต้องการตลาดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า

ปลื้ม 1 ปีโครงการ Lanna Thai Coffee Hub บรรลุเป้าหมายใน 8 กิจกรรมทั้งสร้างเครือข่ายผู้ปลูก ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่รับผิดชอบทำให้เกิดความเข้มแข็งและนำไปสู่การผลิตที่สะอาดและมีคุณภาพ ตอบสนองความต้องการตลาดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า

ที่โรงแรมดิเอ็มเพรสเชียงใหม่ นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานปิดโครงการเสริมสร้างศักยภาพการผลิตกาแฟล้านนาคุณภาพ   ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1  (Lanna Thai Coffee Hub)  ซึ่งกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 อนุมัติงบประมาณประจำปี 2560 จำนวน 90 ล้านบาทโดยมอบหมายให้คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นคณะทำงานหลัก และดำเนินงานบูรณาการร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง และจังหวัดแม่ฮ่องสอน     และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก, การผลิต, การแปรรูป และภาคธุรกิจกาแฟ อาทิ มูลนิธิโครงการหลวง, สถาบันพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน), สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1,   สำนักงานเกษตร, หอการค้า, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว, เชียงใหม่เมืองกาแฟ, ประชารัฐรักสามัคคี และผู้ประกอบการในธุรกิจกาแฟของทั้ง 4 จังหวัด

ผศ.ดร.เยาวลักษณ์ จันทร์บาง หัวหน้าโครงการฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าโครงการฯ นี้มีระยะเวลาการดำเนินงานรวม 12 เดือนตั้งแต่ เดือนเมษายน พ.ศ. 2560 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.2561 ในเขตพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน 1  กิจกรรมที่ดำเนินงาน  มีทั้งหมด 8 กิจกรรม  ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการส่งเสริมเกษตรมูลค่าสูงครบวงจร      กลุ่มโครงการเพิ่มศักยภาพภาคการเกษตร  โครงการตามแนวทางสร้างความเข้มแข็ง และยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (เพิ่มเติม)

จากผลการดำเนินงานของโครงการฯ ทั้ง 8 กิจกรรมสามารถสรุปได้ ดังนี้

  1. การสร้างเครือข่ายผู้ปลูกกาแฟ ผู้ประกอบการ และหน่วยงานรับผิดชอบด้านกาแฟ ทำให้เกิดความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น จัดทำระบบฐานข้อมูล NTAC Base (Northern Thai Arabica Coffee Base) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ อีกทั้ง ผู้ประกอบการที่ผลิตและจำหน่ายกาแฟอะราบิกาในเขตภาคเหนือตอนบน 1 มากกว่า 50 พื้นที่ เกษตรกรรวมประมาณ 2,000 ราย นอกจากนี้ ยังได้จัด Mobile Application และ Web Application  เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายธุรกิจกาแฟ การท่องเที่ยว และตลาดดิจิทัลกาแฟสำหรับกลุ่มผู้บริโภค รวมถึงการจัดทำแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวกาแฟล้านนาเชื่อมโยงทั้ง 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน
  2. การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการปลูก การจัดการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว การควบคุมโรคและแมลง การแปรรูป การคั่ว การชง และการชิม (cup test) ให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจ จำนวนไม่น้อยกว่า 2,000 ราย ความรู้ที่ได้สามารถนำไปพัฒนากิจกรรมของแต่ละภาคส่วนได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งการจัดทำศูนย์และแปลงสาธิตในพื้นที่เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับภาควิชาการ อีกทั้งสนับสนุนปัจจัย การผลิตบางส่วน จำนวน 15 จุดสาธิต และการขยายพื้นที่ปลูกกาแฟเพื่อทดแทนการปลูกพืชไร่ล้มลุกที่เชิงเดี่ยวมิปลูกกาแฟร่วมกับพืชยืนต้น หรือปลูกร่วมกับไม้ร่มเงา
  3. ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเป็นวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกาแฟ และการสร้างเครือข่ายที่มีการผลิตเป็นไปตามมาตรฐาน Green and Clean ที่กำหนดขึ้นโดยโครงการฯ โดยมีกลุ่มเกษตรกรจำนวน 17 กลุ่ม ที่ได้รับการส่งเสริมตามแนวทางกาแฟล้านนาไทย และ มี 7 หมู่บ้านที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จากการดำเนินงานของโครงการฯ    รวมถึงการสนับสนุนการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่กลุ่มเกษตรกร ผู้ที่สนใจ เช่น อบรมบาริสตา อบรมการชงเครื่องดื่มกาแฟ อบรมการคั่วกาแฟ (ขั้นพื้นฐาน)   อบรมการใช้เครื่องมือและเครื่องจักรกลสำหรับการผลิตกาแฟ  อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการประกอบอาชีพด้านธุรกิจกาแฟล้านนา (Coffee Lanna Startup) ทั้งระบบแบบครบวงจร เป็นต้น
  4. จัดทำเกณฑ์ ข้อกำหนด และชั้นคุณภาพของกาแฟเมล็ดเพื่อยกระดับคุณภาพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์สินค้ากาแฟ ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประชารัฐ และ ผู้ประกอบการในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 อาทิ กาแฟ 9 ดอย, กาแฟตั๋วกะหมี เป็นต้น
  5. การจัดตั้งศูนย์พัฒนากาแฟล้านนาไทยเพื่อให้บริการแก่ทุกภาคส่วน โดยตั้งอยู่ ภายในศูนย์วิจัยสาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หัวหน้าโครงการฯคณะเกษตรศาสตร์ มช.กล่าวอีกว่า ผลการดำเนินงานตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่เห็นได้ชัด คือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่การผลิตกาแฟ ได้มีความเชื่อมโยงและประสานการทำงานเพื่อยกระดับคุณภาพกาแฟอะราบิการ่วมกัน ทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดกาแฟคุณภาพทั้งในและต่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้ชุมชนชาวกาแฟได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าและยั่งยืนมากขึ้นต่อไป.

 

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้