โครงการชลประทานเชียงใหม่เผยศักยภาพประตูระบายน้ำ 4 แห่งระบายน้ำได้ 1,800 ลบ.ม.ต่อวินาทีมั่นใจฤดูฝนไร้ปัญหา

โครงการชลประทานเชียงใหม่เผยศักยภาพประตูระบายน้ำ 4 แห่งระบายน้ำได้ 1,800 ลบ.ม.ต่อวินาทีมั่นใจฤดูฝนไร้ปัญหา

โครงการชลประทานเชียงใหม่ สำนักงานชลประทานเชียงใหม่ นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ดูความพร้อมประตูระบายน้ำในแม่น้ำปิง 4 แห่ง ในโครงการการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับอุทกภัย ในช่วงฤดูฝน

นายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล. หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมโครงการชลประทานเชียงใหม่ กล่าวว่า ตลอดลำน้ำปิงมีประตูระบายน้ำจำนวน 4 แห่งและฝายอีก 7 แห่ง ขณะนี้การก่อสร้างประตูระบายน้ำในแม่น้ำปิงทั้ง 4 แห่งได้เสร็จสมบูรณ์ โดยมีศักยภาพในการระบายน้ำตั้งแต่ต้นไปจนถึงประตูสุดท้ายได้สูงสุด 1,800 ลบ.ม.ต่อวินาที ช่วยป้องกันและบรรเทาอุทกภัยของจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ตลอดระยะเส้นทาง 200 กว่ากิโลเมตร

ในส่วนของประตูระบายน้ำท่าวังตาล ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.ป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สามารถระบายน้ำได้ 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยเฉพาะในช่วงที่จังหวัดเชียงใหม่ เจออุทกภัยหนักเมื่อปี 2554 ประตูระบายน้ำนี้สามารถระบายน้ำได้ 800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จึงช่วยป้องกันเกิดน้ำท่วมพื้นเขตเมืองและรักษาระบบนิเวศของแม่น้ำปิงตอนบนไว้ได้

สำหรับประตูระบายน้ำตัวสุดท้ายคือ ปตร.แม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ตรงนี้มีความสำคัญมากเช่นกัน เพราะต้องรองรับน้ำทั้ง 2 จังหวัดคือ เชียงใหม่และลำพูน มีลำน้ำสำคัญทั้งน้ำปิงตอนบน น้ำแม่แตง น้ำแม่กวง ลำน้ำลี้ ลำน้ำแม่ขาน และลำน้ำแม่กลาง มีความสามารถระบายน้ำได้ 1,800ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ก่อนจะระบายไปยังเขื่อนภูมิพล ซึ่งจะช่วยเหลือทั้ง 2 จังหวัดที่มีความยาวกว่า 200 กิโลเมตรในการบรรเทาการเกิดอุทภัยได้เป็นอย่างดี การบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำปิงยังเน้นการรักษาระดับน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ แต่สามารถควบคุมได้

หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรม โครงการชลประทานเชียงใหม่ กล่าวอีกว่า ในช่วงฤดูฝนนี้โครงการชลประทานเชียงใหม่ ได้มีการพร่องน้ำไว้รองรับปริมาณน้ำฝนและกรณีเกิดพายุ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้แจ้งเตือนว่าจะมีฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูน นอกจากนั้นโครงการชลประทานเชียงใหม่ และสำนักงานชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ ได้เตรียมความพร้อมจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในขั้นเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ การจัดตั้งศูนย์ประมวลและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์โดยจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาตรวจสอบข้อมูลปริมาณน้ำฝน ระดับน้ำในแม่ น้ำคาดการณ์การเคลื่อนตัวของน้ำในแม่น้ำสายสำคัญ และการแจ้งเตือนภัย โดยตรวจสอบข้อมูลและรายงานสถานการณ์ภัยแจ้งข่าวเตือนภัยล่วงหน้า ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนภัยล่วงหน้าแก่ประชาชน รวมถึงประสานการปฏิบัติกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดมสรรพกำลัง ในลักษณะ Single Command ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน และทรัพยากรเครื่องจักร เครื่องมือ ยานพาหนะเรือท้องแบน เครื่องสูบน้ำพร้อมให้การสนับสนุน.

 

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้