บ้าน”บุญเรืองใต้” พลิกวิกฤติสู่โอกาส สร้างแหล่งเรียนรู้พืชสมุนไพรป่าชุ่มน้ำ     

บ้าน”บุญเรืองใต้” พลิกวิกฤติสู่โอกาส สร้างแหล่งเรียนรู้พืชสมุนไพรป่าชุ่มน้ำ     

ายน้ำที่ไหลหลากจากเทือกเขาดอยยาว และแม่น้ำอิง  ทำให้บ้านบุญเรืองใต้ หมู่ 2 ต.บุญเรือง อ.เชียงของ จ.เชียงราย มีทรัพยากรทั้งแหล่งน้ำ ป่าชุมชน และป่าชุ่มน้ำ (Seasonal wetland) ด้วยสภาพที่เป็นแก้มลิงตามธรรมชาติ รองรับน้ำหลาก บนเนื้อที่ทั้งหมด 3,706 ไร่ ซึ่งถือว่าแปลงใหญ่ที่สุดในลุ่มน้ำอิง และยังมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างมาก โดย 1,473 ไร่ อยู่ในเขตบ้านบุญเรืองใต้ ชาวชุมชนจึงมีวิถีที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่นิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ และหัวหน้าโครงการเรียนรู้พืชสมุนไพรป่าชุ่มน้ำบ้านบุญเรืองใต้ หมู่ 2 ต.บุญเรือง อ.เชียงของ จ.เชียงราย เล่าถึงที่มาของโครงการว่า บ้านบุญเรืองใต้ เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ในพื้นที่ ซึ่งจากหลักฐานที่บันทึกในพับกระดาษสา ด้วยตัวอักษรล้านนาของวัดบุญเรืองใต้ ระบุว่า ชุมชนก่อตั้งขึ้น ในปี พ.ศ.2215 และเป็นต้นธารทางประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านอื่นๆ รอบข้างในแถบ ต.บุญเรือง  ต.ครึ่ง และ ต.ห้วยซ้อ ที่มีวิถีคล้ายคลึงกัน

หากสถานการณ์เมื่อช่วงต้นปี 2558 ทาง จ.เชียงราย ได้กำหนดเอาพื้นที่ป่าชุ่มน้ำบุญเรือง เป็นพื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และนิยามให้เป็นป่าเสื่อมโทรม ชุมชนจึงไม่เห็นด้วย เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สาธารณะ ที่ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันมาช้านาน มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ชาวบ้านหาอยู่หากิน ด้วยการเก็บหน่อไม้ พืชผัก สมุนไพร ผลไม้ หาเห็ด แมลง และปลาตามหนองน้ำ เป็นพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารมานานหลายร้อยปีจึงได้ยื่นเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเลือกพื้นที่ใหม่ที่เหมาะสมกว่า พร้อมกันนั้นก็ได้ศึกษาข้อมูลร่วมกับองค์กรต่างๆ เช่น ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, โครงการแม่น้ำเพื่อชีวิต, กลุ่มรักษ์เชียงของ, เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา, ศูนย์วนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง

ข้อมูลจากการสำรวจ พบระบบนิเวศน์ย่อยในป่าชุ่มน้ำ  8 ระบบนิเวศน์ ได้แก่ ฮ่อง ห้วย ดอน วัง ญ่าน หาดทราย หรือดอนทราย หนอง และบวก เมื่อสำรวจความหนาแน่นของพันธุ์พืชโดยการตีแปลง พบต้นไม้อย่างน้อย 27 ชนิด และ พืชที่พบมากที่สุดคือ ข่อย ชุมแสง หัด ทองกวาว ส่วนใหญ่เป็นพืชที่ทนต่อน้ำท่วมขังได้ดี โดยมีความหนาแน่นของต้นไม้ใหญ่ 122 ต้น/ไร่ ต้นไม้ขนาดกลาง 835 ต้น/ไร่ ลูกไม้ 2,204 ต้นต่อไร่  สำรวจพันธุ์พืชนอกแปลงพบเบื้องต้น 62 ชนิด เป็นพืชอาหาร 54 ชนิด อาทิ หวายขม ผักแซ่ว ผักปู่ย่า ผักกูดงอ ผักขี้มด ผักหม ผักเผ็ด เป็นต้นส่วนพันธุ์สัตว์พบสัตว์ปีก 79 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 8 ชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ใกล้สูญพันธุ์ หรือมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ 5 ชนิด ได้แก่ กระรอกท้องแดง นาก ชะมดแผงหางปล้อง เสือปลา และแมวดาว พบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 13 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 17 ชนิด พันธุ์ปลา 87 ชนิด และกุ้ง 1 ชนิด ข้อมูลดังกล่าวทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตัดสินใจยกเลิกการใช้พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษออกจากพื้นที่ป่าชุ่มน้ำชุมชนบุญเรืองใต้ โดยให้เหตุผลว่าไม่ใช่ผืนป่าเสื่อมโทรม

“ชาวบ้านเอง เมื่อเปิดเวทีประชุมวางแผนการจัดการป่าชุ่มน้ำของชุมชน ก็ให้ความสนใจองค์ความรู้เรื่องสมุนไพร ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต และปัจจุบันแม้การแพทย์ หรือเทคโนโลยีจะก้าวไกล แต่ผู้คนกลับเริ่มหันมาใช้สมุนไพรในการรักษามากขั้น เพราะอันตรายและผลข้างเคียงต่อสุขภาพน้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน หากปัญหาคือภูมิปัญญาด้านการใช้พืชสมุนไพรมีน้อย และองค์ความรู้ในการรักษา ก็มีผู้เฒ่าผู้แก่เพียงไม่กี่คนที่ยังจดจำได้ ขาดการรวบรวม และถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกหลาน จึงขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)เพื่อทำโครงการเรียนรู้พืชสมุนไพรป่าชุ่มน้ำบ้านบุญเรืองใต้” นิวัฒน์ อธิบายเกรียงไกร แจ้งสว่าง ผู้รับผิดชอบโครงการ บอกว่า การทำโครงการครั้งนี้ ถือว่าได้ยกระดับการทำงาน ไม่ใช่แค่การอนุรักษ์ แต่ช่วยส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจชุมชน ประจวบเหมาะจังหวัดเชียงรายมียุทธศาสตร์เป็นเมืองสมุนไพร และหมู่บ้านบุญเรืองใต้ ถือเป็นแหล่งเรียนรู้อยู่แล้ว การทำงานจึงง่ายขึ้น มีหมอยา ซึ่งเป็นผู้รู้เรื่องสมุนไพร 18 คน ร่วมกับคณะกรรมการป่าชุ่มน้ำ 12 คน มาอบรมให้ความรู้ วิธีการดูแล วิธีเก็บพืชสมุนไพร การใช้รักษา การใช้ประโยชน์จากพืชอาหาร  และการอนุรักษ์ ให้กับชาวบ้าน  ต่อมาผู้นำชุมชน เยาวชน แกนนำ ที่เข้าร่วมโครงการ ได้เก็บข้อมูลพืชสมุนไพรในป่าชุ่มน้ำ ด้วยการจัดเวทีระดมข้อมูลองค์ความรู้จากความทรงจำ สัมภาษณ์ผู้รู้ และค้นจากข้อมูลเอกสาร ก่อนลงพื้นที่สำรวจป่า บันทึกภาพถ่ายสมุนไพร เพื่อรวบรวมข้อมูล พบว่าบางชนิดเริ่มหายากแล้ว  เช่น สะเปาลมเครือ ฮางเย็น มะเขือแจ้เครือ มะแข้งข่า ยาย้อมตีนหมา หญ้าหนวดแมว หญ้าหนวดฤษี โมกนั่ง โมกหลวง ไม้ผีเสื้อน้อย กาสามปีก เบาเส้า เปลือกค้ำ ขางแดง ฯลฯ  และในการรวมรวมข้อมูล เน้นพืชที่มีความสำคัญด้านปัจจัยสี่เป็นหลัก คือ พืชอาหาร พืชที่นำมาทำเครื่องนุ่งห่ม พืชที่นำมาเป็นยารักษาโรค และพืชที่นำมาสร้างที่อยู่อาศัย โดยรวบรวมรายชื่อท้องถิ่น ลักษณะของพืชชนิดนั้น ส่วนที่นำมาใช้ วิธีการใช้การตื่นตัวเรียนรู้พืชสมุนไพรของคนในชุมชน ทั้งกลุ่มเยาวชน และชาวบ้าน จึงไม่ใช่แค่การอนุรักษ์และฟื้นฟูพืชสมุนไพรป่าชุ่มน้ำ หากยังทำให้เกิดเส้นทางเรียนรู้พืชสมุนไพรป่าชุ่มน้ำบ้านบุญเรืองใต้ ที่ออกแบบโดยชุมชน เป็นการต่อยอดการอนุรักษ์พื้นที่รูปธรรมป่าชุ่มน้ำชุมชน และยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความพร้อม ทั้งบุคคลผู้รู้ สถานที่ แหล่งธรรมชาติ สื่อข้อมูลเอกสาร รวมถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมอีกด้วย.

You may also like

ครึ่งเดือนแรกม.ค.เชียงใหม่อนุมัติคำร้องชิงเผากว่า 1 พันไร่อีกเกือบ 2 หมื่นไร่จ่อคิว

จำนวนผู้