อิมเปคดึงภาคีหนุนสร้างสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์และเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง

อิมเปคดึงภาคีหนุนสร้างสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์และเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง

เชียงใหม่ / อิมเปค จับมือภาคี สสช.-เยาวชนต้นกล้า-การจัดการสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง เสริมสร้างสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์และเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง ต่อยอดชุดโครงการเดิม พร้อมขยายขอบเขตงานให้ครอบคลุม 4 ประเด็นหลัก “การจัดการทรัพยากร-อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม-สิ่งแวดล้อม-อาชีพ นวัตกรรม”นายศักดิ์ดา แสนมี่ ผู้อำนวยการสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศวท./IMPECT) เปิดเผยว่า จากการที่ทางสมาคมฯ ได้ร่วมมือกับทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)สำนัก 6 ทำชุดโครงการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนพื้นที่สูงบนฐานวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมือง ในปี 2560/2561 โดยสนับสนุนให้ชาวบ้านที่อยากแก้ไขปัญหาในพื้นที่ของตัวเอง พัฒนาเป็นโครงการนำเสนอเข้ามานั้น ปีแรกคัดเลือกไว้ 30 โครงการ จาก 12 ชาติพันธุ์ ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน และน่าน

“นับว่าการดำเนินงานที่ผ่านมาถูกทาง เป็นการกระจายโอกาสสู่กลุ่มชาติพันธุ์ในหลายๆ ด้าน ปี 2561/2562 นี้ จึงมีการขยายเครือข่ายความร่วมมือไปยังองค์กรที่ทำงานกับกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ สมาคมสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์ (สสช.) เครือข่ายเยาวชนต้นกล้า และเครือข่ายการจัดการสิ่งแวดล้อมบนพื้นที่สูง เพื่อต่อยอด ทำชุดโครงการเสริมพลังสร้างสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์และเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมือง (สส.ชพ.) จะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างครอบคลุมยิ่งขึ้น” ผอ.ศวท. กล่าวทั้งนี้ ในปีที่ 2 สามารถคัดเลือกได้ 46 โครงการ ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย 14 โครงการ เชียงใหม่ 18 โครงการ แม่ฮ่องสอน 6 โครงการ น่าน 7 โครงการ และลำพูน 1 โครงการ แยกเป็น 13 กลุ่มชาติพันธุ์ คือ กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน ลีซู ลาหู่ อาข่า ไทใหญ่ มละบริ ลเวือะ ดาราอาง ถิ่น ขมุ และบีซู  โดยแยกโครงการออกเป็น 4 ประเด็นหลัก คือ 1) การจัดการทรัพยากร เช่น เมล็ดพันธุ์ ไร่หมุนเวียน การจัดการพื้นที่ป่า ความมั่นคงทางอาหาร สุขภาพ-สมุนไพร จำนวน 20 โครงการ  2) อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม การสืบทอด ถ่ายทอด ความสัมพันธ์ของคนในชุมชน 14 โครงการ 3) สิ่งแวดล้อม-พลังงาน เช่น การจัดการขยะ สารเคมีในภาคเกษตร น้ำ 9 โครงการ และ 4) เกี่ยวกับอาชีพ นวัตกรรมจากอัตลักษณ์และทรัพยากร ซึ่งเน้นความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ จำนวน 3 โครงการใน 46 ชุมชนนี้ เป็นพื้นที่เดิมที่ต่อยอดจากปีแรก 9 แห่ง และพื้นที่ใหม่ 37 แห่ง โดยพื้นที่เดิม 4 แห่งถูกยกระดับกิจกรรมให้มีรูปธรรมและเป็นต้นแบบได้อย่างชัดเจน ประกอบด้วย ชุมชนมละบริ บ้านห้วยหยวกต.แม่ขะนิ้ง อ.เวียงสา จ.น่าน, ชุมชนกะเหรี่ยงบ้านแจ่มหลวง ต.แจ่มหลวง อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่,ชุมชนลเวือะ บ้านป่าแป๋ ต.ป่าแป๋ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน และชุมชนลาหู่ ในกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมลุ่มน้ำแม่ต๋ำ-แม่น้ำขุ่น ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงรายด้านนายสุพจน์ หลี่จา นายกสมาคมสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์ (สสช.) ย้ำว่า การสร้างสุขภาวะชุมชนนั้น เชื่อว่าถ้าสร้างเป็นระบบเครือข่าย และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จะได้ผลดีกว่าทำเพียงลำพัง หรือเลือกทำเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง เพราะสุขภาวะเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับทุกอย่างที่อยู่รอบๆ ตัว ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม สังคม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ“บทเรียนที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ทั้งอุปสรรค ปัญหา และความสำเร็จ เมื่อนำมาเล่าสู่กันฟัง ก็จะเกิดการเรียนรู้ โครงการใดที่เกิดปัญหา คนทำงานท้อแท้ จะได้รับกำลังใจ การชี้แนะ หรือเปรียบเทียบกับอุปสรรคของกลุ่มอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน ทำให้มองเห็นแสงสว่าง หรือแนวทางการแก้ไข ส่วนที่เป็นความสำเร็จ ก็ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองด้วยเช่นกัน” นายก สสช. กล่าว

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้