อึั้งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ไม่อยู่กับพ่อแม่ กระตุ้นเครือข่ายท้องถิ่นปรับวิธีจัดการ

อึั้งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ไม่อยู่กับพ่อแม่ กระตุ้นเครือข่ายท้องถิ่นปรับวิธีจัดการ

เผยเด็กไทยเพียง 28% อยู่กับพ่อแม่ เป็นต้นเหตุของสภาพปัญหาด้านสุขภาพ หนุนท้องถิ่นร่วมกำหนดแนวทางการดูแลเด็กให้เหมาะสมตามบริบทสังคมสมัยใหม่ มุ่งสร้างเด็กดีมีคุณภาพเป็นรากฐานมั่นคงให้ประเทศ เจริญรอยตามศาสตร์พระราชาวันที่ 22-24 เม.ย.2562 ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมแพค เมืองทองธานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มูลนิธิสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา และเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ได้จัดเวทีสานพลัง สร้างปัญญา พัฒนาเด็กประถมวัยและประถมศึกษา เพื่อสรุปบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาระบบการดูแลเด็กประถมวัย โดยมีองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และภาคีเครือข่ายเข้าร่วมกว่า 2,000 คนน.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน กล่าวว่า โจทย์สำคัญ ที่ทุกฝ่ายจะต้องตระหนักถึงสถานการณ์สุขภาวะเด็กปฐมวัยในปัจจุบัน คือ สร้างเด็กให้มีคุณภาพได้อย่างไร ซึ่งจากการจัดเก็บข้อมูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ จำนวน 2,148 แห่ง ครอบคลุมกลุ่มประชากร 9 ล้านคน กว่า 3 แสนครอบครัว พบสัดส่วนเด็กปฐมวัยประมาณ 3% ซึ่งถือว่าน้อยมาก ที่สำคัญยังพบด้วยว่าเด็กที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่นั้น มีเพียง 28% เท่านั้น และอยู่กับปู่ย่าตายาย 43% และอยู่กับบุคคลอื่น 28%แต่เมื่อสำรวจในพื้นที่ตำบลต้นแบบของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่จำนวน 33 แห่ง 7,752 ครัวเรือนแล้ว กลับพบว่ามีเด็กอยู่กับพ่อแม่ถึง 6,067 ครัวเรือน หรือคิดเป็น 78.54% อยู่กับปู่ย่าตายาย 10.58% และอยู่กับบุคคลอื่น 11.24% ทั้งนี้เป็นเพราะท้องถิ่นต้นแบบเหล่านี้มีกระบวนการติดตามเด็กๆ เป็นรายบุคคล ทำให้ทราบถิ่นที่อยู่แน่ชัด รวมทั้งได้รับแนวทางและองค์ความรู้ในการจัดการเด็กปฐมวัยในชุมชนตัวเองอย่างเป็นระบบ

“การที่เด็กไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่นั้นจะเกิดผลกระทบและปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การเติบโตช้า พัฒนาการล่าช้า มีการเจ็บป่วย ขาดผู้ดูแล และปัญหาความรุนแรง เพราะการปล่อยให้เด็กอาศัยอยู่กับผู้สูงอายุหรือคนอื่น การดูแลเอาใจใส่ อาจไม่ทั่วถึงและยังไม่ดีพอเหมือนพ่อแม่ และกลายเป็นภาระของพ่อแม่ ผู้ปกครองในที่สุด” น.ส.ดวงพร กล่าวผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน กล่าวอีกว่า ด้วยเหตุนี้ อปท. ซึ่งดูแลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ศพด.) หรือ ภาคีเครือข่ายที่ร่วมกันขับเคลื่อนพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา จึงต้องช่วยกันออกแบบการดูแลเด็กที่เหมาะสม ขณะเดียวกันต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับบริบทท้องที่และสังคมปัจจุบัน โดยจะเอาฐานเดิมมาเป็นตัวตั้งไม่ได้ เช่น ความเป็นอยู่ของเด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เหมือนในอดีต ขณะเดียวกันภาวะถาโถมต่างๆ โดยเฉพาะในครอบครัวแรงงาน ทำให้การดูแลเด็กมีความซับซ้อนยากขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีคนเข้าไปช่วยเหลือและประคับประคอง ดังนั้นท้องถิ่นจึงต้องสร้างทุนทางสังคมและชุมชนเพื่อเข้าไปหนุนเสริมช่วยเหลือ เด็กจะได้เติบโตไปในทางที่ดีด้าน นายสมพร ใช้บางยาง ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน กล่าวว่า เป้าหมายร่วมกันของทั้ง 4 องค์กร คือ อยากเห็นชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง เป็นฐานที่มั่นคงของประเทศชาติ ถ้าชุมชนเข้มแข็ง ประเทศชาติก็จะเข้มแข็งและยั่งยืน เปรียบเสมือนการสร้างเจดีย์ ซึ่งฐานของประเทศต้องแข็งแรง ส่วนกลางเจดีย์คือการขับเคลื่อนด้วยระบบต่างๆ และยอดเจดีย์คือความเป็นธรรม

ทั้งนี้เราได้กำหนดปฏิญญาร่วมกันในการดำเนินตามศาสตร์พระราชา คือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” “ระเบิดจากข้างใน” และ “เศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งปัจจัยในการเดินตามรอยศาสตร์พระราชา คือการสร้างมนุษย์ที่ปัญญาควบคู่การมีคุณธรรม ดังนั้นเราจึงต้องมาร่วมกันคิดร่วมกันทำในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพ มีความรู้ ความรับผิดชอบ อันเปรียบเสมือนการปลูกต้นไม้ให้มีผลที่สมบูรณ์ ต้องมีเมล็ดพันธุ์ดี ดูแลพรวนดิน คือการเอาใจใส่ที่ดี ต้นไม้ก็จะงอกเงยและงอกงามในวันข้างหน้า“การบ่มเพาะเด็กให้เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ดีคือ หน้าที่ของพลเมืองไทยทุกคน ซึ่งจากการทำงานของทั้ง 4 องค์กรแม้จะเป็นองค์กรเล็กๆ แต่ก็เป็นการขับเคลื่อนแบบองคาพยพ ภายใต้เครือข่ายท้องถิ่นทั่วประเทศ”นายสมพร กล่าว

You may also like

Hilight ในคืนข้ามปีกับ BamBam เหล่าอากาเซ่และแบมมี่ ที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์เมื่อ 31 ธ.ค.ที่ผ่านมา

จำนวนผู้