เปิดศูนย์เรียนรู้โครงการเกษตรวิชญา เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก15 พ.ค.นี้

เปิดศูนย์เรียนรู้โครงการเกษตรวิชญา เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก15 พ.ค.นี้

- in headline, การศึกษา-เกษตรกร

กระทรวงเกษตรฯเตรียมเปิดศูนย์เรียนรู้โครงการเกษตรวิชญา เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก15 พ.ค.นี้ที่บ้านกองแหะ ม.4 ต.โป่งแยง อ.แม่ริม เผยเป็นที่ดินส่วนพระองค์เนื้อที่ 1,350 ไร่ ที่ได้พระราชทานให้กระทรวงเกษตรฯใช้ในกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

นางสุธารา ยินดีรส รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านวางระบบการพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 กรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้เปิดพื้นที่ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้โครงการเกษตรวิชญา เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันที่ 15 พฤษภาคมศกนี้ สำหรับโครงการเกษตรวิชญา เป็นโครงการในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้พระราชทานที่ดินส่วนพระองค์ในพื้นที่บ้านกองแหะ หมู่ 4 ต.โป่งแยง อ.แม่ริม เนื้อที่รวม 1,350 ไร่ ให้กับกระทรวงเกษตรฯเพื่อใช้ในกิจการของทางราชการอันก่อให้เกิดประโยชน์เป็นส่วนรวมต่อหน่วยราชการ สถานศึกษาและราษฎร

โดยเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2545 ได้ดำเนินการในลักษณะคลินิกเกษตรเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและเทคโนโลยีรเกษตรจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในรูปแบบของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนชุมชนเป็นศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งเพื่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้เกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตอาหารธรรมชาติและมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน พระองค์ทรงพระราชทานนามศูนย์เรียนร้านการเกษตรบ้านกองแหะ ต.โป่งแยง อ.แม่ริมว่า “เกษตรวิชญา”เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2546 ซึ่งคำว่าเกษตรวิชญาหมายถึงปราชญ์แห่งการเกษตร

สำหรับพื้นที่โครงการเกษตรวิชญามีเนื้อที่ทั้งหมด 1,350 ไร่ แบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 เขตประกอบด้วย พื้นที่ทรงงานครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 32 ไร่ พื้นที่ส่วนราชการครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 138 ไร่ พื้นที่พัฒนาการเกษตร ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 139 ไร่ เป็นพื้นที่ที่พระองค์ท่านได้จัดสรรแปลงทำกิจให้เกษตรกรจำนวน 60 รายๆละ 1 ไร่ปัจจุบันมีเกษตรกรที่ดำเนินการเกษตรกรรมจำนวน 54 ราย และพื้นที่เขตวนเกษตร/ธนาคารอาหารชุมชน ครอบคลุมพื้นที่ 123 ไร่ และส่วนสุดท้ายจะเป็นพื้นที่ป่าครอบคลุมพื้นที่ 918 ไร่

รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านวางระบบการพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 กรมพัฒนาที่ดิน กล่าวอีกว่า จากพื้นที่ 5 เขต จะประกอบไปด้วยศูนย์ 5 ศูนย์คือ ศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรสมัยใหม่ ซึ่งจะอยู่ในพื้นที่ส่วนราชการ โดยจัดทำแปลงสาธิตการเกษตรบนพื้นที่สูง มีการทำงานรูปแบบบูรณาการของหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ศูนย์เรียนรู้ธนาคารอาหารชุมชน ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์เรียนรู้พื่อฟื้นฟัฒนาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมและเกื้อกูลกันทั้งระบบ มีการพัฒนาระบบนิเวศของป่าไม้ให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ เกื้อกูลกับการเพาะพันธุ์สัตว์ธรรมชาติเพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารตามธรรมชาติ ทั้งพืชผัก ผลไม้ พืชสมุนไพร สัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน พื้นที่ศูนย์จะมีเส้นทางเดินชมธรรมชาติและจัดทำฐานการเรียนรู้ด้วย

นอกจากนี้ยังมีศูนย์เรียนรู้ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ซึ่งสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้(เชียงใหม่)เป็นศูนย์ที่ให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าในลักษณะปลูกไม้ 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ศูนย์เรียนรู้การขยายผลสู่เกษตรกรต้นแบบเน้นให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบเกษตรกรรมยั่งยืน สร้างองค์ความรู้ให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนจากการลดใช้สารเคมี สามารถผลิตสารชีวภัณฑ์ใช้ได้เอง ส่งเสริมให้เกษตรกรดำเนินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

สุดท้ายคือศูนย์เรียนรู้พื้นที่ทรงงาน ได้จัดทำเป็นพระราชประวัติของในหลวงรัชกาลที่ 10 ในการเสด็จมาหมู่บ้านกองแหะ และพระราชดำริที่จะมอบพื้นที่ส่วนพระองค์ให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อใช้ในกิจการของทางราชการ อันก่อให้เกิดประโยชน์เป็นส่วนร่วมต่อหน่วยราชการ สถานศึกษาและราษฎร

นางสุธารา กล่าวด้วยว่า สำหรับในวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 ซึ่งจะมีพิธีเปิดพื้นที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้โครงการเกษตรวิชญาเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก กระทรวงเกษตรฯ คาดว่าจะมีผู้ร่วมงานประมาณ 500 คน โดยจะให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสปลูกต้นนางพญาเสือโคร่งตามถนนทางเข้าโครงการ ซึ่งจะมีการปลูกต้นพญาเสือโคร่งทั้งหมด 1,000 ต้น ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรสมัยใหม่จำนวน 320 ตันและพื้นที่บริเวณถนนในแปลงเกษตรกร 60 ไร่หรือศูนย์เรียนรู้การขยายผลสู่เกษตรกรต้นแบบจำนวน 645 ต้น.

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้