ทรงห่วงใยภัยแล้ง ไฟป่าฝุ่นควัน เชื่อสถานการณ์รุนแรงกว่าปีก่อนเหตุน้ำน้อย แนะหยุดเผาไร่อ้อย-ข้าวโพด

ทรงห่วงใยภัยแล้ง ไฟป่าฝุ่นควัน เชื่อสถานการณ์รุนแรงกว่าปีก่อนเหตุน้ำน้อย แนะหยุดเผาไร่อ้อย-ข้าวโพด

ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทานเปิดโครงการจิตอาสาสนับสนุนงานควบคุมไฟป่าฯ  เผยในหลวงทรงห่วงใยปัญหาภัยแล้ง ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง PM 2.5 ชี้สถานการณ์รุนแรงกว่าปีแล้ว เหตุมีน้ำน้อย  แนะหยุดเผาไร่อ้อย-ข้าวโพด บรรเทาปัญหาลดมลพิษ

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่าเชียงใหม่ ต.สุเทพ อ.เมืองเชียงใหม่ พล.ร.อ.ปวิตร  รุจิเทศ  ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน เป็นประธานพิธีเปิดโครงการจิตอาสาสนับสนุนงานควบคุมไฟป่าและแก้ปัญหาหมอกควัน ภายใต้โครงการจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยมีนายธัญญา  เนติธรรมกุล  อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช  พล.ต.จิรเดช  กมลเพ็ชร  รองแม่ทัพภาคที่ 3  พล.ต.สืบสกุล  บัวระวงศ์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 และนายคมสัน  สุวรรณอัมพา  รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และจิตอาสา พื้นที่ 9  จังหวัดภาคเหนือตอนบน เข้าร่วมอบรมกว่า 900 คน

พล.ร.อ.ปวิตร กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระวชิระเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงเป็นห่วง และห่วงใยสถานการณ์ภัยแล้ง ไฟป่าหมอกควัน ฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งปีนี้สถานการณ์รุนแรงกว่าปีแล้ว ทั้งภัยแล้ง อากาศร้อนและมีน้ำน้อย เป็นผลพวงจากปีก่อน ๆ ดังนั้นเราจะหยุดวิกฤตดังกล่าว โดยไม่เผาไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด เพื่อบรรเทาปัญหาและลดมลพิษ

“ฤดูกาลเผาป่า เริ่มมา 1 เดือนแล้ว มีป่าไม้ที่เป็นแหล่งต้นน้ำถูกทำลายจำนวนมาก ต้องรณรงค์สร้างจิตสำนึกถึงการฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ปลูกป่า โดยสร้างความรู้ความ เข้าใจ และเผยแพร่แนวทางปฏิบัติ โดยขยายผลไปทุกพื้นที่ เพื่อสร้างป่าต้นน้ำและความชุ่มชื้น ป้องกันภัยแล้ง  ไฟป่าหมอกควัน ฝุ่นละออง PM 2.5 ไม่ให้มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน และท่องเที่ยวด้วย ที่สำคัญทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตร และน้ำอุปโภคบริโภคเพียงพอ” อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน กล่าว

ทางด้านนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยาน สัตว์ป่าและพันธุ์พืช  กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเครื่อง เป่าลมดับไฟป่า และทำแนวกันไฟ ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช จำนวน 100 เครื่อง นำมาใช้ปฏิบัติงานที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 57 เครื่อง และมีแผนจัดซื้อเพิ่มอีก 400 เครื่อง เพื่อกระจายไปยังทุกภูมิภาค โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงที่เกิดไฟป่าซ้ำซากต่อไป

จากนั้น พล.ร.อ.ปวิตร ได้ชมการสาธิตการดับไฟป่า ทำแนวกันไฟและการใช้เครื่องเป่าลมดับไฟป่า โดย อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ได้ทดลองสะพายเครื่องดังกล่าว พร้อมใช้เครื่องดับไฟป่า ก่อนไปชมการทำแนวกันไฟจากเจ้าหน้าที่ จากนั้นได้ชมการสาธิตของหน่วยปฏิบัติการพิเศษดับไฟป่าข้ามเครื่องกีดขวาง การปฐมพยาบาลและการลำเลียงผู้บาดเจ็บ การฝ่าไฟป่า และการใช้รถจักรยานยนต์เคลื่อนที่เร็ว เข้าไปดับไฟในพื้นที่ลาดชันที่อยู่ห่างไกล ก่อนไปประชุมที่ศูนย์สั่งการ และติดตามสถานการณ์ไฟป่า 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบนด้วย.

You may also like

ม้งดอยปุยและเครือข่ายม้ง 12 หมู่บ้านประกาศปิดป่าตั้งแต่ก.พ.-พ.ค.ห้ามคนนอกเข้าพื้นที่ พร้อมทำแนวกันไฟตั้งแต่ 5-15 ก.พ.68

จำนวนผู้