ใช้โดรนก.ทรัพย์+มช.และม.แม่โจ้บินสำรวจพื้นที่ดอยสุเทพ-ปุยส่วนของเอกชนบินพื้นที่รอบนอกโดยเฉพาะนอกเขตทหาร

ใช้โดรนก.ทรัพย์+มช.และม.แม่โจ้บินสำรวจพื้นที่ดอยสุเทพ-ปุยส่วนของเอกชนบินพื้นที่รอบนอกโดยเฉพาะนอกเขตทหาร

จังหวัดเชียงใหม่วางแผนการบินให้อากาศยานสนับสนุนการดับไฟป่าเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการปฎิบัติภารกิจ โดยใช้ชุดโดรนของก.ทรัพย์ ,ม.แม่โจ้และมช.ปฏิบัติการในพื้นที่อุทยานนสุเทพ-ปุยและพื้นที่ทหารบางพื้นที่ ส่วนโดรนของภาคประชาชนที่เข้าร่วมภารกิจให้บินสำรวจพื้นที่อำเภอรอบนอกและนอกเขตพื้นที่ทหาร

วันนี้ 31 มี.ค. 63 เวลา 09.15น.นายคมสัน สุวรรณอัมพา รอง ผวจ.เชียงใหม่ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อติดตามสถานการณ์ และพื้นที่ที่มีจุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพบจำนวน 85 จุด ลดลงจากเมื่อวานวันที่ 30 มีนาคม 2563 ที่มีจำนวน 133 จุด รวมถึงการติดตามผลการเพิ่มชุดลาดตระเวนเพื่อเฝ้าระวังและเน้นกระชับป้องกันบริเวณที่เกิดเหตุ

ทั้งนี้ที่ประชุม ได้มีการหารือเพิ่มเติมถึงการวางแผนการบิน ในการนำอากาศยานสนับสนุนการดับไฟป่า โดยให้มีผู้แทนแต่ละหน่วยงานประจำที่ศูนย์เพื่อร่วมพิจารณาความเหมาะสมของการใช้อากาศยานในแต่ละพื้นที่ และการจัดตารางการบินให้มีประสิทธิภาพ ไม่เกิดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติภารกิจ โดยให้ชุดโดรนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.เกษตรแม่โจ้ และม.เชียงใหม่ ให้ปฏิบัติการในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และพื้นที่ทหารบางพื้นที่ ส่วนโดนของภาคประชาชนที่ขอเข้าร่วมภารกิจฯ ให้ขึ้นบินสำรวจในพื้นที่อำเภอรอบนอกและนอกเขตพื้นที่ทางการทหาร โดยให้มีการประชุมกำหนดแผนการบินร่วมกันในเวลา 09.00 น. ซึ่งปัจจุบันได้มีการประสานไปยังอำเภอเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการแจ้งพิกัดของแต่ละพื้นที่ร่วมกัน
นอกจากนั้น ได้มอบหมายให้อำเภอวิเคราะห์ถึงปัจจัยและสาเหตุที่ส่งผลให้จำนวนจุดความร้อน (Hotspot) ลดลง ประกอบกับการจัดทำรายงานแนวทางการปฏิบัติในการป้องกันและดับไฟป่าในพื้นที่
ทั้งนี้ได้เน้นย้ำในเรื่องของการบูรณาการร่วมมือกัน จากทุกหน่วยงาน โดยให้มีการประสานงานกันอย่างต่อเนื่องเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและจัดการกับสถานการณ์ ประกอบกับให้มีการประชุมหารือเพื่อการสั่งการที่ชัดเจนและเด็ดขาด ป้องกันการคลาดเคลื่อนของการปฏิบัติภารกิจ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ณ ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จังหวัดเชียงใหม่

ทั้งนี้ก่อนหน้านั้น มีการแชร์ข้อความชี้แจงที่ไม่ทราบแหล่งที่มา เป็นการชี้แจงข้อเท็จจริงกรณี กลุ่มภาคประชาชนชุดบินโดรน และร่มบิน เกิดความไม่สบายใจและขอยกเลิกภารกิจในการดับไฟป่า จังหวัดเชียงใหม่ว่า เมื่อวันที่ 30 มี.ค.63 มีประเด็นความไม่เข้าใจเล็กน้อยในการปฏิบัติงานของทีมภาคประชาชน(ชุดโดรน ร่มบินและชุดมอเตอไซด์วิบาก)​ที่เข้ามาสนับสนุนภารกิจ ในการสำรวจพื้นที่ไฟป่่าบริเวณอุทยานดอยสุเทพ-ปุย ดังนี้

1. ด้วยปัจจุบัน มีการเพิ่มขึ้นของอากาศยาน ฮ.ของหน่วยต่างๆในภารกิจดับไฟป่าบริเวณดอยสุเทพ และอำเภอต่างๆมากขึ้น เช่น MI 17 ของกองทัพบก KA 32 ของกรม ปภ. ของกระทรวงทรัพยากร 3 ลำ และกรมฝนหลวง 1 ลำ โดยลำพังอากาศยานดังกล่าวขึ้นปฏิบัติภารกิจร่วมกัน นักบินก็สังเกตุเห็นกันได้โดยยากยิ่งแล้ว หากโดรนขึ้นบินโดยไม่ผ่านแผนการบินร่วมกันก็อาจเกิดอันตรายต่ออากาศยานขึ้นได้


2.จากภาพมุมสูงที่หน่วยปฏิบัติการดับไฟป่าภาคพื้นได้รับนั้น เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการหาพิกัด และทราบถึงสถานการณ์ไฟป่าได้เป็นอย่างดี แต่จากการส่งภาพของกลุ่มฯไปในกลุ่ม สื่ออื่นๆ ทำให้มีบุคคลภายนอกแชร์ภาพและระบุสถานที่ผิดเพี้ยนไปหลายครั้ง ทำให้เกิดความตระหนก และสับสน ทั้งประชาชนทั่วไป รวมทั้งทีมอำนวยการและทีมปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นอย่างมาก ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่จึงได้ขอสนับสนุนเรืออากาศเอกกิตติพงศ์ ทฤษฎี นายทหารยุทธการ ฝูงบิน 411 จาก บน.41 กองทัพอากาศ มาเป็นผู้บัญชาการสั่งการในการปฏิบัติการของหน่วยบินทั้งหมด ซึ่งก็ทำให้แผนการบิน ฮ.และโดรน รวมถึงร่มบิน ประสานกันได้เป็นอย่างดียิ่ง
แต่จากการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ การเข้าเขตอุทยาน เขตทหาร หรือแม้แต่การกำหนดให้ส่งภาพมุมสูงแต่เฉพาะในกลุ่ม Line การบิน เนื่องจากบางพื้นที่เป็นข้อสงวนของทางราชการ หรือบุคคลทั่วไปอาจแชร์ภาพหรือสถานที่เกิดไฟป่าไม่ถูกต้องตามพิกัด ก็จะทำให้เกิดผลเสียได้ ดังนั้นจากข้อกำหนดดังกล่าวทำให้กลุ่มโดรน ร่มบิน ไม่สบายใจและขอถอนตัวในที่สุด ทางจังหวัดเชียงใหม่จึงขอชี้แจงสื่อต่างๆเพื่อป้องกันการสร้างประเด็นขัดแย้งระหว่างเอกชนกับราชการ อาจกระทบขวัญและกำลังใจ รวมถึงความตั้งใจของพวกเราทุกคน ทุกฝ่าย จึงขอนำเรียนท่านมาเป็นข้อมูลเพื่อโปรดได้รับทราบเป็นเบื้องต้น.
(หมายเหตุ:จากข้อปัญหาดังกล่าว วันนี้31 มี.ค.) กระทรวงทรัพย์ฯได้จัดส่ง โดรน ไปให้จังหวัดเชียงใหม่เพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่แล้วจำนวน 3 ลำ)

You may also like

การแข่งขัน “สุดยอดเชฟสร้างสรรค์ อาหารเหนือ” โดยเชฟชุมชน (Local Chef)ทีมหมู่บ้านสร้างดาว คว้ารางวัล 3 หมื่นบาทปรุงเมนู”ผักเชียงดา”ถูกปาก+ใจชาวต่างชาติที่เป็นกรรมการ

จำนวนผู้