เขื่อนแม่กวงฯยันแผนเดิมเริ่มปล่อยน้ำทำนาปี 15 ก.ค.ขณะที่สำนักชลประทานที่ 1 เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ช่วงฝน

เขื่อนแม่กวงฯยันแผนเดิมเริ่มปล่อยน้ำทำนาปี 15 ก.ค.ขณะที่สำนักชลประทานที่ 1 เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ช่วงฝน

เขื่อนแม่กวงฯยันคงกำหนดการปล่อยน้ำให้เกษตรกรทำนาปีตั้งแต่ 15 ก.ค.นี้แม้ฝนตกแต่น้ำยังไหลเข้าเขื่อนปริมาณน้อย ขณะที่มูลนิธิเสียงสมานทิพย์ร่วมกับกลุ่มผู้ใช้น้ำร่วมทำกิจกรรมเพิ่มความชุ่มชื้นโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีจุลินทรีย์ผสมน้ำให้กับพื้นที่รับน้ำของเขื่อนและสร้างโอกาสในการเกิดฝน ขณะที่ผอ.สำนักชลประทานที่ 1 เผยสถานการณ์น้ำในภาพรวมพร้อมแผนรับมืออุทกภัยในช่วงฤดูฝน

เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 63 เวลา 09:30 น. นายประเวศน์ โปธิตา นายกเทศบาลตำบลออนใต้ พร้อมด้วย อาจารย์ธนพัฒ พาธุระ ,อาจารย์สมาทานทิพย์ สานุวิตร์ มูลนิธิเสียงสมานทิพย์ และกลุ่มผู้ใช้น้ำเขื่อนแม่ กวงอุดมธารา ได้ร่วมกันทำกิจกรรมเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับบริเวณเขื่อนแม่กวงฯ โดยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีจุลินทรีย์ ผสมกับน้ำ แล้วฉีดพ่นในบริเวณเขื่อนตั้งแต่เขื่อนฝั่งขวา จนถึงสะพานแขวนบริเวณเขื่อนฝั่งซ้าย ความยาวทั้งสิ้น 6,000 ม. เพื่อสร้างความชุ่มชื้นแก่พื้นที่รับน้ำของเขื่อน และสร้างโอกาสในการเกิดฝนในพื้นที่ หลังจากเกิดความชุ่มชื้น

นายเจนศักดิ์ ลิมปิติ ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา เขื่อนแม่กวงอุดมธารา กล่าวว่า นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีการประชุมชี้แจง เพื่อสรุปแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนที่จะมีการส่งน้ำให้แก่เกษตรกรในวันที่ 15 ก.ค. 63 ที่กำลังจะมาถึงนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นไปตามนโยบายของกรมชลประทาน และรัฐบาลที่ได้มอบไว้ให้ ซึ่งจาการดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสร้างความเข้าใจแก่ตัวแทนเกษตรกรผู้ใช้น้ำเป็นอย่างดียิ่ง

ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา เขื่อนแม่กวงอุดมธารา กล่าวอีกว่า สำหรับแนวโน้มสถานการณ์น้ำของเขื่อนแม่กวง ปริมาณน้ำปัจจุบัน 72.31 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 27.50 % แนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ขึ้นกับปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่รับน้ำ สำหรับการส่งออก มีเพียงส่งน้ำสนับสนุนการอุปโภค บริโภค เท่านั้น  ทั้งนี้กรมอุตุฯคาดการณ์ฝนในเดือน ก.ค.63 จะต่ำกว่าค่าปกติ 5% ส่วนเดือนส.ค.-ก.ย. จะใกล้เคียงค่าปกติ

สำหรับสถิติน้ำไหลเข้าเขื่อนฯเดือน ก.ค.มีปริมาณมากที่สุด 38.50 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยที่สุด  4.25 ล้านลูกบาศก์เมตร  เฉลี่ย      17.41 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยในปี 2562 เขื่อนแม่กวงฯมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนฯ     9.02 ล้านลูกบาศก์เมตร และปี 2563 มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อน   5.21 ล้านลูกบาศก์เมตร (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 29.92%)  โดยการคาดการณ์ วิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ(ณ วันที่ 1 ม.ค.64) ออกเป็น 5 สถานการณ์ ดังนี้ กรณีน้ำมาก คาดการณ์ว่า จะมีน้ำประมาณ 271 ล้านลูกบาศก์เมตร กรณีน้ำน้อย คาดการณ์ว่า จะมีน้ำประมาณ 86 ล้านลูกบาศก์เมตร กรณี ปี 2538 คาดการณ์ว่า จะมีน้ำประมาณ 223 ล้านลูกบาศก์เมตร กรณีปีเฉลี่ย คาดการณ์ว่า จะมีน้ำประมาณ 169 ล้านลูกบาศก์เมตร กรณีต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5% คาดการณ์ว่า จะมีน้ำประมาณ 162 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแม่กวงฯ กำหนดการส่งน้ำยังคงจะเริ่มวันที่ 15 ก.ค. 63 เป็นต้นไป

ส่วนทางด้านนายสุดชาย พรหมมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 1 กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางว่า ขณะนี้เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลมีปริมาณน้ำ 52.555 ล้าน ลบ.ม. (20%) น้ำไหลเข้าเขื่อน 0.144 ล้าน ลบ.ม. ไหลออก  0.015 ล้าน ลบ.ม. เพื่อส่งน้ำให้กับพื้นที่โครงการแม่แฝก-แม่งัดฯ ฤดูฝน ปี 2563 ตามแผน 37 ล้าน ลบ.ม. และส่งจริง 1.044 ล้าน ลบ.ม. นอกจากนี้ยังส่งน้ำสนับสนุนเฉพาะเพื่อการอุปโภค-บริโภค ในช่วงฝนทิ้งช่วง พื้นที่สองฝั่งแม่น้ำปิง ในเขตจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน ฤดูฝนปี 2563 แผน 10 ล้าน ลบ.ม. โดยเริ่มส่งน้ำตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค. – 25 มิ.ย. 63 ผลการส่งน้ำ 2.44 ล้าน ลบ.ม. (รอบเวรที่ 4)(กรณีฝนตกและปริมาณน้ำในลำน้ำปิงเพียงพอจะงด/ลดการส่งน้ำ) สำหรับพื้นที่เพาะปลูกข้าวฤดูฝน ปี 2563 ให้เกษตรกรเริ่มเตรียมแปลง ตกกล้า หลังจากที่มีฝนตกต่อเนื่อง และมีปริมาณน้ำมาก

ส่วนสถานการณ์พื้นที่ประสบภัยภัยแล้ง  จ.เชียงใหม่ ประกาศเขตพื้นที่ภัยแล้ง 2 อำเภอ คือ อ.แม่อาย และ อ.หางดง และ อุทกภัย จ.เชียงใหม่ เมื่อคืนวันที่ 7 ก.ค. 63 ถึงเช้าวันที่ 8 ก.ค. 63 มีฝนตกหนักในพื้นที่ อ.ดอยสะเก็ด (ปริมาณฝนวัดที่ อบต.เทพเสด็จ ได้ 80.2 มม.) ทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมถนนสายเชียงใหม่-เชียงราย (ทางเบี่ยงจุดสร้างสะพานตัวที่ 1) กม.32+300 ทำให้รถไม่สามารถสัญจรได้ ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว รายงานความเสียหายอยู่ระหว่างตรวจสอบ

ผอ.สำนักชลประทานที่ 1 กล่าวอีกว่า สำหรับการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย สำนักงานชลประทานที่ 1 ได้ดำเนินการตรวจสอบสภาพอาคาร ตรวจสอบแล้ว 831 แห่ง พร้อมใช้งาน 821 แห่ง (อาคาร 10 แห่ง จัดเข้าแผนงานซ่อมแซม/ปรับปรุงโครงการ ปี 2563 อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ปี 2563) กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แล้วเสร็จ 38,757 ตัน มีการปรับแผนการบริหารจัดการน้ำรายสัปดาห์

นอกจากนั้นยังได้เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำทั้งหมด 75 เครื่อง, รถสูบน้ำ 2 คัน, รถบรรทุกน้ำ 16 คัน, รถขุด 5 คัน, รถบรรทุก 6 ล้อ 25 คัน, รถแทรกเตอร์ 1 คัน และเครื่องจักรกลสนับสนุนอื่นๆ 11 หน่วย ส่วนการช่วยเหลือการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งและอุปโภค-บริโภค อนุมัติเครื่องสูบน้ำแล้ว 30 เครื่อง ปริมาณน้ำสูบช่วยเหลือ 3,224,000 ลบ.ม. พื้นที่ช่วยเหลือ 6,221 ไร่ และให้การช่วยเหลือการเพาะปลูกพืชฤดูฝน อนุมัติเครื่องสูบน้ำแล้ว 1 เครื่อง จ.แม่ฮ่องสอน อ.แม่สะเรียง 1 เครื่อง.

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้