ยสท.-มรภ.ชม.ทำ MOU วิจัยยาสูบ กัญชง กัญชาฯ เร่งผลักดันสู่เชิงพาณิชย์

ยสท.-มรภ.ชม.ทำ MOU วิจัยยาสูบ กัญชง กัญชาฯ เร่งผลักดันสู่เชิงพาณิชย์

เชียงใหม่ / ยสท.จับมือ มรภ.ชม. ทำ MOU ด้านการเกษตรและศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาพืชยาสูบ กัญชง กัญชาฯ ยอมรับรัฐปรับขึ้นภาษี ทำยอดขายตก กระทบชาวไร่ใบยาสูบมากกว่า 15,000 ครัวเรือน เร่งขออนุญาต ก.คลัง ผลักดันให้ทำกัญชง-กัญชาเชิงพาณิชย์ได้ หวังส่งเสริมเป็นพืชเศรษฐกิจ จำหน่ายทั้งใน-ต่างประเทศเมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 2 ก.ย.63 ที่ห้องประชุมสภา ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้มีพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการเกษตรและการศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาพืชยาสูบ กัญชง กัญชา และพืชเศรษฐกิจอื่น ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กับการยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท.) โดยมีนายวีระพันธ์ ดีอ่อน ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมเป็นสักขีพยานนายภาณุพล รัตนกาญจนภัทร ผู้ว่าการการยาสูบแห่งประเทศไทย กล่าวว่าการยาสูบแห่งประเทศไทยมีความตั้งใจในการรับผิดชอบสังคม โดยเฉพาะครอบครัวยาสูบ ที่ประกอบด้วยผู้ปลูกพืชใบยา คือชาวไร่เกือบ 2 หมื่นครัวเรือน และทำรายได้ให้กับรัฐปีละร่วมแสนล้าน จึงจัดเก็บเงินบำรุงกองทุนต่างๆ หรือองค์กร ได้มากมาย เช่น สสส., กกท. กองทุนผู้สูงอายุ สื่อมวลชน ฯ แต่รัฐกลับมีนโยบายปรับขึ้นภาษี ซึ่งส่งผลกระทบค่อนข้างมาก ยอดขายบุหรี่ลดลง โควตาการรับซื้อใบยาสูบจากชาวไร่ก็ลดลงตามสัดส่วนการผลิต จากที่เคยมีคนสูบทั้งประเทศ 3 หมื่นล้านมวน  การยาสูบแห่งประเทศไทย เคยขายได้ 2.4-2.7 หมื่นล้านมวน ตอนนี้เหลือแค่ 1.6 หมื่นล้านมวน ซ้ำบุหรี่ต่างประเทศปรับลดราคา ขณะที่บุหรี่ในประเทศราคาสูงขึ้น“บริบทขององค์การยาสูบนั้น ไม่ใช่องค์กรยาเสพติด แต่เป็นองค์กรที่รัฐสร้างขึ้น เมื่อก่อนเคยเป็นรัฐวิสาหกิจอันดับ 1 ของไทย แต่ตอนนี้ได้รับผลกระทบและชาวไร่เดือดร้อน เราก็จำเป็นต้องหาพืชทดแทนเพื่อให้ชาวไร่สามารถมีรายได้ทัดเทียม หรือมากกว่ายาสูบ  ให้อยู่ได้อย่างมั่นคง” ผู้ว่าการการยาสูบแห่งประเทศไทย กล่าวด้าน รศ.ดร.ประพันธ์ ธรรมไชย รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยยินดีให้ความร่วมมือเชิงวิชาการ เพี่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างจริงจัง เนื่องจากปัจจุบันเกษตรกรที่มีอาชีพปลูกยาสูบได้รับผลกระทบ ประสบปัญหา ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จึงยินดีที่จะดำเนินงานร่วมกัน เพื่อค้นคว้า และหาสิ่งใหม่ช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวภายหลังการทำ MOU นายภาณุพล เปิดเผยว่า ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดที่รัฐบาลปรับภาษีใบยาสูบ ทำให้เราต้องปรับราคาขายบุหรี่ให้สูงขึ้น ผู้บริโภคก็ต้องเลือก ทั้งที่ใบยาสูบหรือบุหรี่ของเราคุณภาพสูง ไม่ว่าจะใบยา หรือกระบวนการผลิต แต่ด้วยราคาที่ต้องแข่งขันกับต่างประเทศ  ก็ส่งผลให้ยอดขายลดลง ต้นน้ำคือชาวไร่ ที่เคยมีโควตารับซื้อในจำนวนที่สูง เมื่อยอดขายบุหรี่ลด เราก็ซื้อใบยาได้น้อยลง ผล กระทบจึงตกกับต้นน้ำ คือชาวไร่มากกว่า 15,000 ครัวเรือนที่อยู่กับเรามา 80 กว่าปี และมีผู้เกี่ยวข้องในกิจกรรมของเขาไม่ต่ำกว่า 4-5 แสนรายยสท.ได้มองถึงพืชเศรษฐกิจตัวอื่น และกัญชา กัญชง ก็เป็นพืชที่มีคุณประโยชน์มากมาย ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ และสามารถนำไปทำเป็นยา ซึ่งก็จะร่วมมือกับองค์การเภสัช กระทรวงสาธารณสุข หรือเอกชนที่ทำอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อรีบดำเนินการให้เร็วที่สุด และเนื่องจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ต้องผ่านสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ มีเรื่องวิชาการ และมีการทำวิจัยด้วย ในวันนี้จึงเกิดความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งได้ศึกษามานาน ขณะที่ ยสท.เองก็ศึกษามาไม่น้อยกว่า 6-7 ปีจุดแข็งของโรงงานยาสูบ ก็คือการมีชาวไร่ที่มีวินัย มีสถานีทดลองชัดเจน มีสถานีภูมิภาค มีโรงงาน และมีกฎหมายของยาสูบเอง ฉะนั้นวันหนึ่งอาจเปลี่ยนเป็นการส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจก็ได้ เพราะวันนี้เราต้องยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ได้มาจากความผิดพลาดในการบริหารจัดการของ ยสท. หรือชาวไร่ แต่เกิดจากวิธีคิด หรือผู้บริหารประเทศอาจมองถึงหลายๆ ส่วนในการเก็บภาษีสรรพสามิต  วันนี้เรากำลังขออนุญาตกระทรวงการคลัง และพยายามทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ในเวลาไม่เกิน 1 ปี เราอาจเป็นตัวแทน หรือจุดจำหน่ายใหญ่ในเรื่องของกัญชง กัญชา ทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นจึงบอกถึงชาวไร่ทุกคนได้ว่า ยสท.ไม่ได้ละทิ้ง รัฐบาลก็เห็นใจในเรื่องการเยียวยา แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่อยากเห็น คือคนระดมกันปลูก แล้วจะขายใคร ตลาดต้องชัดเจน ไม่อยากให้เป็นเหมือนยางพาราที่เกิดปัญหาขึ้น“เรามีพื้นที่ของเราเองในระดับต้นน้ำ นั่นคือพื้นที่ของ ยสท.5,000 ไร่ พื้นที่ของเครือข่ายอีกกว่า 60,000 ไร่ การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยก็เพื่อนำเมล็ดพันธุ์มาปลูก หรือทดลองในพื้นที่ของเรา ถ้าปลูกแล้วมีคุณภาพ มีคนซื้อจริง ในระดับกลางน้ำ ปลายน้ำ วันนี้ทำ MOU ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พรุ่งนี้จะทำกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจะทำกับบริษัทเอกชน กับรัฐวิสาหกิจอื่นๆ เช่น องค์การเภสัช เพื่อให้ครบวงจร เมื่อลงทุนส่งเสริมให้ชาวไร่ปลูกแล้ว เขาก็ต้องดีขึ้น มีรายได้มากขึ้น แต่ทั้งนี้ข้อจำกัดหนึ่งก็คือขณะนี้กระทรวงการคลังยังไม่อนุญาตให้ทำเชิงพาณิชย์ ให้แค่ทำวิจัย เราจึงต้องรีบดำเนินเรื่องขอให้กระทรวงการคลังอนุญาตให้ทำเชิงพาณิชย์ได้ เพราะความมีวินัย และเป็นรัฐวิสาหกิจของ ยสท. ทำให้สามารถควบคุมได้ง่ายกว่าอย่างอื่น” ผู้ว่าการ ยสท. กล่าวสำหรับการต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาการ ที่จะได้รับจากการทำ MOU กับสถาบันการศึกษาต่างๆ นั้น ขึ้นอยู่กับกฎหมายที่ต้องรองรับ เมื่องานวิจัยออกมาแล้ว และผ่านการทดลอง มีคุณภาพชัดเจน สามารถไปหาเมล็ดพันธุ์มาปลูก เบื้องต้นจะทำในพื้นที่ทดลองก่อน เมื่อทดลองเสร็จก็สามารถกระจายปลูกไปยังพื้นที่ชาวไร่ หรือพื้นที่ของยาสูบ จากนั้นก็ทำ MOU ร่วมกับกลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อนำไปสู่การจำหน่าย.

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้