sacit ชูหัตถกรรม น้ำต้น – แกะสลักไม้ – ดุนโลหะ ชาวล้านนา สืบสานและส่งต่อมรดกทางภูมิปัญญาสู่คนรุ่นใหม่

sacit ชูหัตถกรรม น้ำต้น – แกะสลักไม้ – ดุนโลหะ ชาวล้านนา สืบสานและส่งต่อมรดกทางภูมิปัญญาสู่คนรุ่นใหม่

 

sacit หรือ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) ชูงานศิลปหัตถกรรมไทยชาวล้านนา น้ำต้น – แกะสลักไม้ – ดุนโลหะ ชั้นบรมครู ส่งต่อมรดกทางภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่า ควรค่าแก่การสืบสาน และต่อยอดสู่คนรุ่นหลังต่อไป

นายพรพล เอกอรรถพร รักษาการแทน ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า sacit มีอีกหนึ่งภารกิจสำคัญอีกด้าน คือ การส่งเสริมคุณค่าบุคคลผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมที่มีความรู้ ความชำนาญ มีทักษะฝีมือ ในงานศิลปหัตถกรรมไทยพื้นบ้าน อนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาดั้งเดิมที่สั่งสมสืบทอดจากบรรพบุรุษ สะท้อนถึงศาสตร์และศิลป์เชิงช่างในสาขาต่างๆ  ให้ดำรงคงอยู่โดยไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา เพราะเป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่าเป็นผู้ที่สืบสานและรักษาอัตลักษณ์และภูมิปัญญาด้านงานศิลปหัตถกรรมไทยให้คงอยู่มาตั้งแต่อดีต ซึ่งปัจจุบันกลุ่มผู้สร้างสรรค์มีอายุมากขึ้นและอาจขาดทายาท  ผู้สืบสานภูมิปัญญาด้านงานศิลปหัตถกรรมไทย

sacit จึงได้มีกิจกรรมเฟ้นหาและเชิดชูเกียรติบุคคลเป็น                  “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” “ครูช่างศิลปหัตถกรรม” และ “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” เป็นประจำทุกปี ปัจจุบันนำมาเชิดชูแล้วกว่า 438 ราย และได้ดำเนินการรวบรวมชีวประวัติ ผลงาน และองค์ความรู้ในการทำงานศิลปหัตถกรรมของผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติแต่ละประเภท โดยเฉพาะในงานหัตถกรรมที่กำลังจะสูญหาย                 หรือเหลือผู้ทำน้อยรายให้คงอยู่ดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยสืบต่อไป

การนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนี้ จึงเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมไทยที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน ได้แก่ งานน้ำต้น , งานดุนโลหะ และงานแกะสลักไม้ เป็นต้น

“น้ำต้น” หรือ “คนโท” เป็นงานศิลปหัตถกรรมที่อยู่ในวิถีชีวิตชาวล้านนามาช้านาน นอกจากจะใช้เป็นภาชนะใส่น้ำ ยังเป็นภาชนะใช้ใส่ดอกไม้บนแท่นบูชาและในพิธีกรรมต่างๆ รวมทั้งเป็นเครื่องประกอบ               ยศของชนชั้นสูงในสมัยโบราณ ปัจจุบันครูสมทรัพย์ ศรีสุวรรณ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2563 ผู้อนุรักษ์และ               สืบสานงานภูมิปัญญาการปั้นน้ำต้นของชาวล้านนาที่เกือบจะสูญหายไปจากแผ่นดินให้กลับมาคงอยู่ได้               ในปัจจุบัน ตั้งแต่การเตรียมดิน การนวดดินเหนียว นำมาขึ้นรูปบนแป้นหมุนไม้ที่ยังคงใช้แรงคนหมุน                    และตกแต่งลวดลายด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า “เขาควาย”  ตกแต่งผิวดินภายนอกให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ       มาขูดขีด สลักลาย พิมพ์ลาย กดลาย ให้เกิดเป็นลวดลายเอกลักษณ์น้ำต้นโบราณ ซึ่งทุกกระบวนการล้วนเป็นภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่าที่ส่งต่อภูมิปัญญากันมานับหลายร้อยปี

“งานดุนโลหะ” หรือ ภาษาถิ่นล้านนาจะเรียก ดุนลาย ว่า ต้องลาย หรือ ต้องครัว สร้างสรรค์โดย            ครูดิเรก สิทธิการ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2554 และนายพิชิต นะงอลา ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2562       ทั้งสองท่านยังคงเอกลักษณ์งานดุนโลหะตามขนบและลวดลายแบบดั้งเดิม และมีฝีมือที่ละเอียดลออ รวมถึง               ยังได้พัฒนารูปแบบ ลวดลาย วัสดุในการทำงานดุนโลหะสลักเงินให้มีความทันสมัย เหมาะกับยุคและความต้องการของตลาดมากขึ้น มีการปรับเปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตให้หาง่ายและทันสมัยขึ้น อย่างเช่น ทองแดง อลูมิเนียม ในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เพื่อเพิ่มสีสันเพิ่มมิติให้กับงานนั้น ๆ มากขึ้น รวมถึงลวดลายได้มีการนำลวดลายไทยและล้านนาแบบดั้งเดิมมาผสมผสานกับศิลปะร่วมสมัย ออกจำหน่าย ขยายตลาดให้มากขึ้น

สำหรับผลงานของนายพิชิต นะงอลา ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2562 อีกหนึ่งผู้สืบทอดภูมิปัญญา                    งานดุนโลหะจากครูดิเรก นำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น มีเอกลักษณ์ที่ความชัดเจนของลวดลาย ละเอียด อ่อนช้อย งดงามรอบด้านในรูปแบบลอยตัว เช่น ผลงานที่ชื่อว่า “ไตรภูมิ” ที่นำโลหะ                  ทั้ง 3 ชนิด (ทองเหลือง ทองแดง และอะลูมิเนียม) มารวมไว้ในชิ้นงานเดียว จนได้มีโอกาสนำผลงานดุนโลหะ “ปลาอานนท์” ไปอวดโฉมปรากฏสายตาชาวโลกให้เป็นที่ประจักษ์ในความงดงามและคุณค่าจากภูมิปัญญา              ที่เป็นเอกลักษณ์ ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ ผสมผสานกับจินตนาการอันกว้างไกลด้วยฝีมือคนไทย                    ที่งาน Revelations 2019 ณ Grand Palais กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่ผ่านมาอีกด้วย

“งานแกะสลักไม้” สร้างสรรค์โดยครูเพชร วิริยะ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2564 หรือที่รู้จักกันในนาม “สล่าเพชร” เป็นช่างฝีมือผู้เปี่ยมด้วยทักษะ และความเชี่ยวชาญในด้านการแกะสลักไม้ และยังถือเป็นบรมครูแห่งวงการงานแกะสลักช้างไม้ที่มีชื่อเสียงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในจังหวัดเชียงใหม่ ผู้เปลี่ยนภาพจริงลงสู่เนื้อไม้ นำภูมิปัญญาที่สั่งสมมาพัฒนาต่อยอด ฝึกฝน และค้นคว้าจนถ่ายทอดงานแกะสลักช้างไม้เสมือนจริง เลียนแบบท่าทางของช้าง ตลอดจนถึงการแสดงอารมณ์ผ่านรูปลักษณ์อากัปกิริยาต่าง ๆ ของ              ช้าง ทั้งช้างหนึ่งตัว สองตัว สามตัว ไปจนถึงลักษณะท่าทางของช้างเวลาอยู่รวมกันเป็นโขลง จนเป็นที่ได้รับ                การกล่าวถึงว่าเป็นสล่าผู้มากฝีมือในการแกะสลักช้างได้เสมือนจริงจนเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวาง     มาจนถึงทุกวันนี้

นอกจากนี้ sacit มีเป้าหมายสำคัญในการสืบสานองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมไทยจากผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทยไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่และสังคมไทย โดยมีการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้                ในรูปแบบ sacit Archive ที่ครอบคลุมงานศิลปหัตถกรรมไทยกว่า 3,000 รายการ ในกลุ่มเครื่องทอ เครื่องจักสาน เครื่องไม้ เครื่องดิน เครื่องโลหะ เครื่องกระดาษ เครื่องหนัง เครื่องรัก รวมถึงเครื่องอื่นๆ อาทิ งานเทริดมโนราห์ งานกระจกเกรียบ เป็นต้น เพื่อรองรับความต้องการของผู้ประกอบการ ผู้ผลิต นักออกแบบ นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าและวิจัย หรือนำข้อมูลองค์ความรู้ไปใช้พัฒนาตนเองและผลิตภัณฑ์ช่วยสร้างโอกาส สร้างเครือข่าย สร้างรายได้ ตลอดจนการจัดกิจกรรมและเวิร์คช้อปต่าง ๆ สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ในงานศิลปหัตถกรรมไทยร่วมกันระหว่างช่างฝีมือและคนรุ่นใหม่ เช่น นิทรรศการเชิดชู               ผู้สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย หรือการสาธิตกระบวนการทำงาน

หัตถกรรมของครูศิลป์ของแผ่นดิน                 ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่เข้าชมได้เกิดความภาคภูมิใจ                        ในภูมิปัญญาของคนไทย และกลายเป็นจุดเริ่มต้นให้คนรุ่นใหม่เห็นความสำคัญ และหันมาร่วมอนุรักษ์และ                สืบสานงานช่างฝีมือเหล่านี้ไว้ไม่ให้สูญหาย และเกิดเป็นสังคมงานคราฟต์ หรือ Social Craft Network ต่อไป.

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้