มช.จับมือสดร.พัฒนาเทคโนฯเชิงลึกสู่การสร้างสตาร์ทอัพและนำไปใช้เชิงพาณิชย์คาด 5 ปีเพิ่มมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท

มช.จับมือสดร.พัฒนาเทคโนฯเชิงลึกสู่การสร้างสตาร์ทอัพและนำไปใช้เชิงพาณิชย์คาด 5 ปีเพิ่มมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท

มช.จับมือสดร.ลงนาม MOU เตรียมปั้นธุรกิจนวัตกรรม Deep Tech Startup ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยีวิศวกรรมขั้นสูง เพื่อร่วมกันพัฒนาพร้อมต่อยอดเทคโนโลยีชั้นแนวหน้าและเทคโนโลยีเชิงลึก ทางดาราศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ด้านอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนวิศวกรรมที่มีความแม่นยำสูงทางการแพทย์และเทคโนโลยีแห่งอนาคต คาด 5 ปีมีไม่ต่ำกว่า 10 บริษัทและสามารถเพิ่มมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ที่ NSP Rice Grain Auditorium อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ       ครั้งยิ่งใหญ่ ระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร.    ในการร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัย วิชาการ การพัฒนา และต่อยอดเทคโนโลยีทางดาราศาสตร์ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ พร้อมบ่มเพาะเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูงเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งสตาร์ทอัพ ในการนี้ ศ.ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับ ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โดยมี ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ และ ผศ.ดร.วิภู รุโจปการ เป็นสักขีพยานในพิธี

ศ.ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ มีความพร้อมอย่างยิ่งในฐานะสถาบันการศึกษาที่จะร่วมวิจัย พัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อสร้างนวัตกรรม นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าในเชิงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยมีกลไกสนับสนุนสำคัญ คือ บริษัท อ่างแก้ว โฮลดิ้ง จำกัด ที่ช่วยสร้างมูลค่าให้แก่ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากการ ต่อยอดงานวิจัยเทคโนโลยีเป็นนวัตกรรม สามารถขยายสู่เชิงธุรกิจให้เป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชนและอุตสาหกรรม ทั้งยังมีอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) ที่การันตีด้วยรางวัลหน่วยบ่มเพาะธุรกิจดีเด่นระดับเอเชีย พร้อมให้การสนับสนุนความร่วมมือดังกล่าวนี้อย่างเต็มกำลัง ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการบ่มเพาะธุรกิจนวัตกรรมและการปั้นสตาร์ทอัพจากเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech Startup) ภายใต้ระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) ของอุทยานฯ ในฐานะแม่ข่ายดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ

ด้านดร. ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. กล่าวว่า ด้วยประสบการณ์ในการสร้างและพัฒนาอุปกรณ์สำหรับงานวิจัยดาราศาสตร์มากว่า 10 ปี ปัจจุบัน สดร. มีห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีและวิศวกรรม 5 ด้าน เพื่อสร้างองค์ความรู้ งานวิจัย และเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีศักยภาพระดับโลก การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างช่องทางส่งผ่านองค์ความรู้ งานวิจัย และเทคโนโลยีเหล่านั้นไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่ไปต่อยอดร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมให้เกิดการใช้งานจริงในาคอุตสาหกรรม ตลอดจนการขอรับการสนับสนุนต่อยอดการวิจัยจากแหล่งทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงสร้างโอกาสในการจัดตั้งสตาร์ทอัพจากเทคโนโลยีขั้นสูง โดยร่วมกันจัดตั้งนิติบุคคลจากทรัพย์สินทางปัญญาของทั้งสองฝ่าย ซึ่งจะต่อยอดไปสู่การลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพ เกิดการลงทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ภายใต้วงล้อความสัมพันธ์ระหว่างงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง กับบริษัทสตาร์ทอัพต่าง ๆ

โดยในระยะเริ่มต้นมุ่งหวังให้เกิดโมเดลในลักษณะดังกล่าวขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและขับเคลื่อนไปได้ก่อนเป็นอันดับแรกนับเป็นความท้าทายในการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี วิศวกรรมจากวงการดาราศาสตร์มาใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนวิศวกรรมที่มีความแม่นยำสูง อุตสาหกรรมการแพทย์ และการต่อยอดการใช้งานกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีแห่งอนาคตต่อไป โดยหวังว่าจากความร่วมมือในครั้งนี้จะเกิดสตาร์ทอัพหน้าใหม่ในสาย Deep Tech Startup สัญชาติไทยเพิ่มขึ้น ทั้งยังสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

ขณะที่ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผอ.อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือและรักษาการผอ.อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มช. กล่าวว่า มีเทคโนโลยีหลายตัวที่นำมาใช้ในปัจจุบันก็เกิดจากการศึกษาวิจัยของสดร.ซึ่งมีมากกว่า 10 รายการที่ได้นำมาบ่มเพาะเทคโนโลยีโดยใช้กลไกกับ STeP ที่มีเครือข่ายและความร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่งได้ตั้งเป็นบริษัทอุตสาหกรรมและ STeP ก็มีความพร้อม ซึ่งจะไม่ใช่แค่ใช้ไอเดียสตาร์ทอัพหรือดิจิตอล สตาร์ทอัพเท่านั้น โดยความร่วมมือนี้ได้ประเมินผลว่าในระยะ 5 ปี จะเห็นการพัฒนาเทคโนโลยีไปสู่การใช้งานจริงไม่น้อยกว่า 10 บริษัท และสร้างมูลค่าได้ไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท

ผศ.ดร.วิภู รุโจปการ รองผอ.สดร.กล่าวเสริมว่า ธุรกิจที่สามารถใช้ Deep Techได้คือธุรกิจเกี่ยวกับการรับสัญญาณทางดาราคาศาสตร์มาใช้ในทางการแพทย์ การพัฒนาระบบท้องฟ้าจำลองซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้เชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางการแพทย์ การใช้การวัดสเปคตรัมเพื่อตรวจวินิจฉัยให้ความแม่นยำและไวกว่าที่มี รวมไปถึงธุรกิจโทรคมนาคมด้วย.

 

 

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้