งานเกษตรภาคเหนือครั้งที่ 10 ประสบความสำเร็จสร้างเม็ดเงินสะพัดทะลุเป้า 160 ล้านบาท

งานเกษตรภาคเหนือครั้งที่ 10 ประสบความสำเร็จสร้างเม็ดเงินสะพัดทะลุเป้า 160 ล้านบาท

- in headline, การศึกษา-เกษตรกร

สรุปผลงานเกษตรภาคเหนือครั้งที่ 10 ประสบความสำเร็จสร้างเม็ดเงินสะพัดทะลุเป้า 160 ล้านบาท เวทีการจับคู่ธุรกิจภายในงาน 4 วันเกิดการเจรจาธุรกิจมากกว่า 300 คู่และคาดการณ์มูลค่าการซื้อขายในอนาคตมากกว่า 50 ล้านบาท โดยมีจำนวนผู้จัดแสดงสินค้า (Trade Exhibitor) เข้าร่วมมากกว่า 50 บริษัทและมีผู้ซื้อนักลงทุน (Trade Visitor) จากทั่วประเทศ เข้าร่วมมากกว่า 100 บริษัท เกิดการจับจ่ายใช้สอยและการหมุนเวียนภายในงานแสดงสินค้ากว่า 100 ล้านบาท และการจากการจัดอีเวนท์ภายในงานกว่า 10 ล้านบาทปักหมุดวางแผนยกระดับการจัดงานเกษตรแห่งชาติเชื่อมตลาดต่างประเทศ เพื่อขยายตลาดเป้าหมายด้านธุรกิจการเกษตรแห่งอนาคต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี นาพรหม คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยถึงผลสรุปประเมินการจัดงานเกษตรภาคเหนือครั้งที่ 10 โดยคณะทำงานได้สรุปผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจในภาพรวมเกิดเงินหมุนเวียนในการจัดงานตลอดระยะเวลา 12 วันตั้งแต่วันที่ 1-12 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมกว่า 160 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการเจรจาจับคู่ทางธุรกิจที่เกิดการซื้อขายทันทีและเกิดความร่วมมือเชิงธุรกิจในอนาคตมากกว่า 50 ล้านบาท การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและการจัดนิทรรศการแสดงสินค้าภายในงานกว่า 60 ล้านบาท การจัดอีเวนท์ภายในช่วงการจัดงานอีก 10 ล้านบาท  และเกิดการจับจ่ายใช้สอยที่สร้างรายได้หมุนเวียนในพื้นที่กว่า 40 ล้านบาท

วัตถุประสงค์ของการจัดงาน เพื่อสร้างการสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ ในการขับเคลื่อนและการพัฒนาด้านการเกษตรที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในระบบการผลิตที่มีมาตรฐานปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี “Smart Agriculture for Well Being” ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจสีเขียว BCG และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งการจัดงานใช้พื้นที่จัดงาน ณ ศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กว่า 400 ไร่

โดยผลการจัดกิจกรรมการจับคู่เจรจาธุรกิจ (Business Matching) ภายใต้งานเกษตรภาคเหนือครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 6 – 9 ธันวาคม 2565 ณ อาคารนวัตกรรม ศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ จำนวน 4 วัน เกิดการเจรจาธุรกิจมากกว่า 300 คู่ และคาดการณ์มูลค่าการซื้อขายในอนาคตมากกว่า 50 ล้านบาท โดยมีจำนวนผู้จัดแสดงสินค้า (Trade Exhibitor) เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 50 บริษัท และมีผู้ซื้อนักลงทุน (Trade Visitor) จากทั่วประเทศ เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 100 บริษัท

“การจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจครั้งนี้ทางคณะได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ในส่วนของรูปแบบนวัตกรรมการจับคู่เจรจาธุรกิจ ส่งผลให้กิจกรรมประสบความสำเร็จ และคาดว่าจะสามารถยกระดับการเชื่อมโยงธุรกิจกับธุรกิจในส่วนภาคการเกษตรในปีต่อไป และจะส่งผลให้ผู้ซื้อและนักลงทุนจากต่างประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้นในปีต่อ ๆ ไป”

โดยผู้ซื้อที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจแบ่งเป็นประเภทธุรกิจทางการเกษตร จำนวน 11 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มธุรกิจเมล็ดพันธุ์พืชและโรงเรือน, กลุ่มธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตร, กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์การเกษตร, กลุ่มธุรกิจเครื่องมือวิทยาศาสตร์, กลุ่มธุรกิจเคมีเกษตร,กลุ่มธุรกิจพลังงานสะอาด, กลุ่มธุรกิจเกษตร IOT/Digital, กลุ่มธุรกิจอาหารคน/อาหารสัตว์,กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และกลุ่มธุรกิจกาแฟ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและนักลงทุนต่างประเทศรายใหญ่ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจครั้งนี้ จำนวน 10 บริษัท ได้แก่ บริษัทไทยพาวิลเลี่ยน คอร์ปอเรท จำกัด, AJ E-commerce(Alibaba.com Thailand Authorized Partner), ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้าธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(EXIM Bank), Amazon Global Selling Thailand, องค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง Hong Kong Trade Development Council (HKTDC), บริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) CPN, ริมปิงซุปเปอร์มาร์เก็ต, บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด (Tops), บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน), และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย จังหวัดภูเก็ต

ขณะที่ผู้ขายหรือ Trade Visitor รายใหญ่ที่น่าสนใจ ได้แก่ CHARN ISSARA DEVELOPMENT Public CO., LTD. ผู้ผลิต แปรรูป และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกัญชา, สมนึกฟาร์ม ผู้ทำฟาร์มปศุสัตว์ และผลิตมูลสุกรอัดเม็ด, บริษัท สุรินทร์ ออมย่า เคมิคอล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ขายส่งและผลิตเคมีภัณฑ์

คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าในห้วงการจัดกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจได้เกิดการลงนามในสัญญาการเจรจาธุรกิจ (MOU) วันที่ 8 ธันวาคม 2565 ณ สถานที่จัดกิจกรรม จำนวน 1 คู่ธุรกิจเกิดมูลค่าการซื้อขายทันที 2,000,000 บาท ระหว่าง บริษัทเชียงใหม่ เฟรชมิลล์ ฟาร์ม จำกัด บริษัทผู้ผลิตนมคุณภาพสูงและฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ และ บริษัท คิวแม็กซ์ อะโกรเทค จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายปัจจัยการผลิตพืช โดยทั้ง 2 บริษัท เจรจาธุรกิจซื้อขายกากตะกอนชีวภาพ ที่เหลือจากการนำมูลวัวไปผลิต Bio gas เพื่อนำกากตะกอนชีวภาพดังกล่าวไปผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 200,000 กิโลกรัม

คาดการณ์มูลค่าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยคู่ที่มีความโดดเด่นที่คาดว่าจะมีการทำธุรกิจร่วมกันในอนาคต จำนวน 3 คู่ ได้แก่ บริษัท คิวแม็กซ์ อะโกรเทค จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายปัจจัยการผลิตพืช และ บริษัท มาชิเทค จำกัด ผู้นำเข้า ผู้ผลิต และ ผู้จัดจำหน่าย สินค้าอะไหล่และชิ้นส่วนต่างของเครื่องจักรกลเพื่องานอุตสาหกรรมและงานเกษตรกรรมครบวงจร, บริษัท เกษตรแก้ว จำกัด และ สมนึกฟาร์ม ฟาร์มปศุสัตว์เลี้ยงสุกรและผลิตมูลสุกรอัดเม็ด โดยมีการเจรจาธุรกิจเพื่อนำมูลสุกรอัดเม็ดผลิตเป็นปุ๋ยสำหรับเกษตรกร และคู่ของ สมนึกฟาร์ม และ บริษัท สุรินทร์ ออมย่า เคมิคอล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ขายส่งและผลิตเคมีภัณฑ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี กล่าวถึงการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจในด้านของการลงทุนในงบประมาณการจัดงานที่ได้นำมาพัฒนาพื้นที่จัดงาน การบริหารจัดงานในแต่ละโซน เพื่อรองรับการจัดงานกว่า 15 ล้านบาท รวมถึงการลงทุนด้านจัดพาวิลเลี่ยนแสดงสินค้าของบริษัทขนาดใหญ่ การจัดโซนนิทรรศการของหน่วยงานภาคราชการ และพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ ที่มีมากกว่า 40 ล้านบาท  ซึ่งในแต่ละบริษัทผู้ร่วมออกงานได้ออกแบบและก่อสร้างพื้นที่จำหน่ายและแสดงสินค้าในงานมากกว่า 1,000 บูธ ซึ่งทำให้เกิดการกระตุ้นธุรกิจประชุมและแสดงสินค้าตามมา นอกจากนั้นยังมีการจัดอีเวนท์ภายในงานที่ก่อให้เกิดงบประมาณหมุนเวียนกว่า 10 ล้านบาทได้แก่ การจัดกาลาดินเนอร์ การประชุมวิชาการดินและปุ๋ยแห่งชาติ ครั้งที่ 7 เป็นต้น

นอกจากนั้นการจัดงานเกษตรภาคเหนือในครั้งนี้ยังเป็นการยกระดับการจัดงานซึ่งมีกิจกรรมซื้อขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง และการซื้อขายระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ ผ่านการเจรจาจากผู้ประกอบการ โดยแบ่งกิจกรรมที่น่าสนใจออกเป็น 6 โซน 6 ธีม ได้แก่ โซน Agrinovations for Sustainable นวัตกรรมเกษตรสู่ความยั่งยืน, โซน Amazing Agro-tourism “กิน บิน ฟิน” มหัศจรรย์ท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยงเชิงเกษตร บูธร้านอาหารชั้นนำ และการจัดแสดงบอลลูน, โซน Living & Learning เมล็ดพันธุ์การศึกษา ต้นกล้านวัตกรรม และ Green and clean market เป็นแปลงสาธิตเครื่องจักรกลทางการเกษตร การจัดแสดงกระบวนการและวิธีการผลิตพืชผักปลอดภัย แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ รวมไปถึงการจัดแสดงนิทรรศการจากส่วนงานราชการต่าง ๆ

อาทิ มูลนิธิโครงการหลวงโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, โซน Greennovation Wonderland มหัศจรรย์พรรณพฤกษาเป็นพื้นที่จัดแสดงสินค้าเกี่ยวกับการจัดสวนและพันธุ์ไม้ที่กำลังเป็นที่สนใจ และการประกวดพืชประเภทต่างๆ, โซน Happy Farmland ดินแดนแห่งฟาร์มสุขเป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการด้านสัตวศาสตร์ การจัดจำหน่ายสัตว์น้ำ สัตว์ปีก ตลาดนัดสัตว์แปลก รวมถึงเป็นพื้นที่ประกวดสัตว์เลี้ยง และโซน Agrinovation Forum ที่มีการซื้อขายในแต่ละโซนรวมกว่า 40 ล้านบาท

ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจพบว่า กิจกรรมการจับคู่เจรจาธุรกิจ (Business Matching) ผู้เข้าร่วมมีความพึงพอโดยรวมร้อยละ 89 โดยมีร้อยละความพึงพอใจในหัวข้อผู้เข้าร่วมได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรมการจับคู่เจรจาธุรกิจสูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 90 สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้าทางธุรกิจอย่างต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ 89  รูปแบบการนัดหมายการเจรจาธุรกิจคิดเป็นร้อยละ 88 คู่ค้าทางธุรกิจสามารถช่วยให้ธุรกิจขยายตัวหรือพัฒนาสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้นคิดเป็นร้อยละ 87  ความเหมาะสมของระยะเวลาในการจับคู่เจรจาธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 85

 

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้