อบจ.เชียงใหม่ จับมือสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดเชียงใหม่ จัดงานเทศกาลเชียงใหม่เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์เน้นยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชียงใหม่ Soft Power ด้วย 5F

อบจ.เชียงใหม่ จับมือสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดเชียงใหม่ จัดงานเทศกาลเชียงใหม่เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์เน้นยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชียงใหม่ Soft Power ด้วย 5F

อบจ.เชียงใหม่ จับมือสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดเชียงใหม่ จัดโครงการกระตุ้น เศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยว งานเทศกาลเชียงใหม่เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ Chiang Mai Creative Economy Festival 2023 ต่อเนื่อง เน้นยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชียงใหม่ Soft Power ด้วย 5F เชื่อมต่อ กับโครงการล้านนาสร้างสรรค์ ภายใต้ยุทธศาสตร์ของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) เพื่อ สร้างความ เข้มแข็งด้านเศรษฐกิจชุมชน

นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกองค์การบริหารจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า องค์การบริหารส่วน จังหวัดเชียงใหม่ ได้ให้ความสำคัญกับนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่เป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และ บริการด้วยภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ล้านนา เพื่อการท่องเที่ยว เชื่อมต่อกับโครงการล้านนาสร้างสรรค์ จึงได้ร่วมกับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยจังหวัดเชียงใหม่ จัดงานเทศกาลเชียงใหม่เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ Chiang Mai Creative Economy Festival 2023 ภายในงานจัดแสดงนวัตกรรมและจำหน่ายสินค้า Lanna Expo 2023 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ระหว่างวันที่ 3-9 กรกฎาคม 2556 โดยในปีนี้จะยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชียงใหม่ด้วย Soft Power 5F ประกอบด้วย 1) อาหารไทย (Food) 2) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) 3) ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) 4) มวยไทยและศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting) และ 5) เทศกาลประเพณีไทย (Festival) ที่จะยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชียงใหม่ในอนาคต

“การจัดงานครั้งนี้ขึ้นมาก็เพื่อเป็นจุดเริ่มที่จะได้กระตุ้นเศรษฐกิจเชียงใหม่ด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ยกระดับเพิ่มมูลค่าสร้างความแตกต่างผลิตภัณฑ์และบริการด้วยภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ล้านนา อันจะสร้างรายได้ หมุนเวียนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนของหลายฝ่ายทั้งชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายภาคีใน พื้นที่ในการให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของเชียงใหม่ และการเชื่อมต่อกับโครงการล้านนาสร้างสรรค์ และ เกิดการส่งเสริม สนับสนุนให้ชุมชนในแต่ละอำเภอได้ยกระดับพัฒนาเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อันจะเป็นการสร้าง ความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจชุมชนในอนาคต”

โดยภายในงานครั้งนี้ได้งานเสวนาหัวข้อ “ยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชียงใหม่ด้วย SF” ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 โดยมีหัวข้อที่สำคัญได้แก่ 1.) Creative Economy เชียงใหม่เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2030 2.) “เชียงใหม่สู่ศูนย์ถ่ายทำภาพยนตร์ระดับโลก Chiangmai Film City” โดย ดร.สุดเขต สกุลทอง 3.) Fashion “แฟชั่น ล้านนาสู่เวทีโลก” โดยผศ.ญาณิศา โกมลสิริโชค อาจารย์ประจำหลักสูตรสิ่งทอและเครื่องประดับ คณะศิลปกรรมและ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา 4.) Festival “นวัตกรรมเทศกาลสร้างสรรค์เพื่อเชียงใหม่” โดย คุณภณวาท โกชุม CEO iChiangmai 5.) Fighting “ยกระดับเชียงใหม่ด้วยเศรษฐกิจมวยไทย” คุณเกียรติศักดิ์ ปัญโญแสง หัวหน้าค่าย มวยศิษย์เพชรเชียงคำ และ 6.) Food “แนวทางพัฒนาอาหารเชิงนวัตกรรมสู่ Soft Power ในอนาคต” โดย คุณอัฒ มาส ชนะ ประธานสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนเชียงใหม่

นอกจากนั้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการเป็นเมืองสร้างสรรค์ (Creative และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อปี 2560 โดยตลอด City) ระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา เชียงใหม่ยังคงสืบสานและสนับสนุนอุตสาหกรรมงานฝีมือ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดมา ยาวนาน ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเงิน ไม้แกะสลัก การปักไหม และเครื่องเขิน โดยปัจจุบันเชียงใหม่เป็นแหล่งจ้าง งานหลักของอุตสาหกรรมงานฝีมือของผู้ประกอบการถึง 159 แห่ง

ล่าสุดจังหวัดเชียงใหม่ ได้เสนอเป็นตัวแทนประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 17 ในปี พ.ศ. 2568 (UCCN Annual Conference 2025) ในทุก ด้าน ทั้งด้านสถานที่ และศักยภาพในเรื่องการจัดประชุมที่อยู่ในมาตรฐาน นอกจากนี้ยังได้รับเลือกจาก IFEA ให้เป็น เมืองเทศกาลโลก (World Festival and Event City)” ประจำปี 2022 จึงเหมาะสมในการใช้โอกาสนี้ ที่จะได้นำเสนอ เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ดีงามของประเทศไทยสู่สายตานานาประเทศทั่วโลก ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยภาคี เครือข่ายในพื้นที่ ได้ร่วมกันขับเคลื่อนการเตรียมความพร้อมในทุกด้าน ทั้งการกำหนดช่วงเวลาในการจัดประชุม รูปแบบในการจัดประชุม โดยจะมีการสอดแทรกการเผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีที่สวยงาม มีมนต์เสน่ห์ ของจังหวัด เชียงใหม่ และจังหวัดอื่น ๆ สู่สายตาผู้เข้าร่วมประชุมจากนานาประเทศทั่วโลก

นางวิภาวัลย์ กล่าวอีกว่า อบจ.เชียงใหม่ มีความมุ่งมั่นต่อเนื่องที่จะต่อยอดจังหวัดเชียงใหม่ด้วยเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ (Creative Economy) เพื่อยกระดับเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการด้วยภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ กระตุ้นการมีส่วนของหลายฝ่ายทั้งชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายภาคีในพื้นที่และภายในประเทศ และระหว่าง ประเทศ รวมถึงสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC – Creative LANNA) ที่มุ่งเน้นด้านล้านนาสร้างสรรค์ ต่อยอดสู่นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์และเศรษฐกิจ ที่จะ ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ล้านนาของชุมชนด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ การพัฒนาต่อยอดให้เป็นศูนย์กลางแสดง สินค้าและนวัตกรรมที่มีอัตลักษณ์ ล้านนา เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ (Creative Lanna Festival) และการส่งเสริมการท่องเที่ยวล้านนาเชิงวัฒนธรรม ต่อไป.

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้