พัฒนาแพลตฟอร์มการเพิ่มประสิทธิภาพและการควบคุมความปลอดภัยในอุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

พัฒนาแพลตฟอร์มการเพิ่มประสิทธิภาพและการควบคุมความปลอดภัยในอุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

โครงการพัฒนาและการสาธิตเทคโนโลยีหลักสำหรับการป้องกันและควบคุมความปลอดภัย
ในอุตสาหกรรมการผลิตในภูมิภาคแม่โขง-ล้านช้างพัฒนาแพลตฟอร์มการเพิ่มประสิทธิภาพและการควบคุมความปลอดภัยในอุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ รายการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์สำหรับอุตสาหกรรม สู่สถาบันอุดมศึกษาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

เมื่อวันที่18 พฤศจิกายน 2566 ผศ.ดร.ภราดร สุรีย์พงษ์ หัวหน้าโครงการพัฒนาและการสาธิตเทคโนโลยีหลักสำหรับการป้องกันและควบคุมความปลอดภัยในอุตสาหกรรมการผลิตในภูมิภาคแม่โขง-ล้านช้าง (Development and Demonstration of Key Technologies for Industrial Production Safety Prevention and Control in Lancang-Mekong Region) พร้อมด้วย Prof.Wu Jun : Guangdong CAS Cogniser Information Technology,China , Mr. Phonpasit Phissamay : Al Lao , Ms. Seng Molika, Director : Department of Science, Technology & Innovation (GD/STI) , Prof. Dr. Sanouphab PHOMKEONA National University of Laos , Dr. MAY THU Cambodia University of Technology and Science , Prof กฤติยา กันทวงศ์ มหาวิทยาลัยพะเยา และผศ. ดร.สันติชัย วิชา สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงความร่วมมือในโครงการฯ ณ โรงแรมอโมร่า ท่าแพ เชียงใหม่

ผศ ดร.ภราดร กล่าวว่า โครงการพัฒนาและการสาธิตเทคโนโลยีหลัก สำหรับการป้องกันและควบคุมความปลอดภัยในอุตสาหกรรมการผลิตในภูมิภาคแม่โขง-ล้านช้าง (Development and Demonstration of Key Technologies for Industrial Production Safety Prevention and Control in Lancang-Mekong Region) เป็นโครงการวิจัยภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Lancang-Mekong Cooperation) (http://www.lmcchina.org) โดยวัตถุประสงค์หลักเพื่อ พัฒนาแพลตฟอร์มการเพิ่มประสิทธิภาพและการควบคุมความปลอดภัยในอุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ รายการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์สำหรับอุตสาหกรรม สู่สถาบันอุดมศึกษาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

โดยโครงการนี้ดำเนินงานโดยวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ภายใต้การสนับสนุนของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) และ บริษัท แคส ค๊อกไนเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
โครงการนี้เราได้คัดเลือกอุตสาหกรรมโรงสีข้าว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความใกล้เคียงกันในประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ ประเทศไทย, สปป. ลาว และประเทศกัมพูชา ซึ่งหากได้รับการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการสีข้าว ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ โครงการฯ จึงได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ เช่น Internet of Things (IoTs), Artificial Intelligence ด้าน Computer Vision และ OpenBadge Learning Platform มาประยุกต์ใช้ ดังนี้
การใช้เทคโนโลยี IoTs เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลในโรงงาน เช่น เซ็นเซอร์เก็บอุณหภูมิและความชื้นในถัง(Silo)เก็บข้าวเปลือก ปริมาณข้าวในถัง การใช้พลังงานในระบบ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการสูญเสียของข้าวใน กระบวนการสีข้าว และการติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว การเปิด-ปิดประตู เซ็นเซอร์แก๊สซันเฟอร์ไดออกไซด์ เซ็นเซอร์วัดปริมาณฝุ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยทั้งด้านผลผลิต และด้านชีวิตของพนักงานในโรงงาน
นอกจากนี้โครงการฯ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ด้าน Computer Vision มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในโรงงาน โดยใช้กล้องอัจฉริยะในการตรวจจับวัตถุและวัตถุอันตราย เช่น มนุษย์ สัตว์ ปืน รถยก หมวกนิรภัย และควันไฟ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น คนแปลกหน้าที่เดินเข้ามาในพื้นที่หวงห้าม หมาหรือแมวที่เข้ามาในพื้นที่การผลิต พนักงานที่ทำงานใกล้รถยกซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ พนักงานที่ไม่สวมหมวกนิรภัย และไฟที่อาจเกิดขึ้นจากการสะสมของความร้อนและก๊าซในโรงสีข้าว เป็นต้น ซึ่งมีความแม่นยำมากกว่า 97%
โครงการฯ ได้พัฒนาและติดตั้งชุดฝึกอบรม ให้แก่สถาบันอุดมศึกษาใน 3 ประเทศได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (National University of Laos) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์กัมพูชา(Cambodia University of Technology and Science) ซึ่งได้มีการจัดฝึกอบรม ให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม, ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ, นักวิจัย, นักศึกษาที่สนใจ จำนวนกว่า 400 คน โดยใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์ม OpenBadge (www.OpenBadge.co) ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อให้ สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีอัจฉริยะและปัญญาประดิษฐ์ให้แก่ผู้ที่สนใจ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ได้ทุกที่ทุกเวลา
จากผลของการพัฒนาเทคโนโลยีในโครงการ คณะทำงานมีแผนต่อยอดไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆได้ เช่น การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในอุตสาหกรรมสุขภาพ (Digital Health), การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoTs ในการทำการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming), การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอัจฉริยะ (Smart Tourism) และเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ต่อไป.

You may also like

กกต. จัดกิจกรรม “Big Day” โค้งสุดท้ายรณรงค์เลือกตั้ง อบจ. เชียงใหม่

จำนวนผู้