“ไฟกลางคืน”แม่วาง พบเป็นพื้นที่”ชิงเผา”15 จุด ตัวแทนสภาหาลมหายใจชี้”มีไฟไม่ได้เท่ากับฝุ่นเสมอไป”

“ไฟกลางคืน”แม่วาง พบเป็นพื้นที่”ชิงเผา”15 จุด ตัวแทนสภาหาลมหายใจชี้”มีไฟไม่ได้เท่ากับฝุ่นเสมอไป”

“ไฟกลางคืน”แม่วาง พบเป็นพื้นที่”ชิงเผา”15 จุด ผู้ว่าฯเชียงใหม่แจงสถานการณ์คลี่คลายแล้วแต่ไม่นับพื้นที่ใหม่ ขณะที่ตัวแทนสภาหาลมหายใจชี้ไฟชิงเผาหลุดการควบคุมมีหลายปัจจัย ระบุการจัดการที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยภายใต้กำลังคนและงบประมาณแบบที่เป็นอยู่ ชี้”มีไฟไม่ได้เท่ากับฝุ่นเสมอไป”

สถานการณ์ไฟป่า หมอกควันและฝุ่นpm2.5 จังหวัดเชียงใหม่ยังไม่ดีขึ้น แม้จุดความร้อน Hotspot รอบเช้าซึ่งเป็นไฟข้ามคืนจะลดลงเหลือเลข 2 หลัก โดยเช้าวันที่ 4 มี.ค.67 จังหวัดเชียงใหม่พบจุดความร้อนรอบเวลา 01.30 น.จำนวน 79 จุด พบในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม 19 จุด,แม่วาง 16 จุด,ฮอด 8 จุด,สันกำแพง 7 จุด,เชียงดาว 6 จุด,หางดง 5 จุด,สันทราย 4 จุด,แม่ออน 3 จุด,ดอยสะเก็ด 2 จุด,แม่ริม 2 จุด,จอมทอง 2 จุด,แม่แตง 2 จุด,เวียงแหง 1 จุด,ดอยเต่า 1 จุดและสะเมิง 1 จุด

ทางด้านอำเภอแม่วาง ได้รายงานต่อศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า จ.เชียงใหม่ว่า สถานีควบคุมไฟป่าออบขานรับแจ้งรายงานจุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ประจำวันที่  4 มีนาคม 2567 เวลา 01.30 น. จาก War room สบอ.16 (เชียงใหม่) พบว่าอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติออบขาน จำนวน 15 จุด ดังนี้ จุดที่ 1 พิกัดที่ 47Q 475467E UTM 2063381N จุดที่ 2 พิกัดที่ 47Q 475407E UTM 2063721N จุดที่ 3 พิกัดที่ 47Q 475538 E UTM 2063924 N จุดที่ 4 พิกัดที่ 47Q 475484 E UTM 2064263 N ในท้องที่ ต.ดอนเปา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ พบว่าจุดที่ 1-4 เป็นพื้นที่บริเวณเดียวกันอยู่ในแปลงบริหารจัดการเชื้อเพลิงแปลงที่ 141-6 และ 141-7

ส่วนจุดที่ 5 พิกัดที่ 47Q 472220 E UTM 2064666 N จุดที่ 6 พิกัดที่ 47Q 472350 E UTM 2064847 N ในท้องที่ ต.ดอนเปา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ พบว่าจุดที่ 5-6 เป็นพื้นที่บริเวณเดียวกัน และจุดที่ 7 พิกัดที่ 47Q 476923 E UTM 2065418 N พบว่าจุดที่ 7 อยู่ในแปลงบริหารจัดการเชื้อเพลิงแปลงที่ 141-12 จุดที่ 8 พิกัดที่ 47Q 477448 E UTM 2065674 N จุดที่ 9 พิกัดที่ 47Q 478189 E UTM 2065821 N พบว่าจุดที่ 9 อยู่ในแปลงบริหารจัดการเชื้อเพลิง แปลงที่ 141-17 จุดที่ 10 พิกัดที่ 47Q 478266 E UTM 2066363 N ในท้องที่ ต.ดอนเปา อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ พบว่าจุดที่ 7-10 เป็นพื้นที่บริเวณเดียวกัน จุดที่ 11 พิกัดที่ 47Q 479826 E UTM 2072237 N ในท้องที่ ต.น้ำแพร่ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ จุดที่ 12 พิกัดที่ 47Q 481418 E UTM 2074795 N จุดที่ 13 พิกัดที่ 47Q 481538 E UTM 2074971 N ในท้องที่ ต.บ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ พบว่าจุดที่ 12-13 เป็นพื้นที่บริเวณเดียวกัน อยู่ในแปลงบริหารจัดการเชื้อเพลิงแปลงที่ 141-66 จุดที่ 14 พิกัดที่ 47Q 480599 E UTM 2076548 N จุดที่ 15 พิกัดที่ 47Q 480652 E UTM 2076724 N ในท้องที่ ต.บ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ พบว่าจุดที่ 14-15 เป็นพื้นที่บริเวณเดียวกัน โดย ได้แจ้งเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการตรวจสอบแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อค่ำวานนี้(3มี.ค.67)นายโกวิทย์ บุญธรรม ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสได้เข้าไปรายงานสดในพื้นที่อ.แม่วางซึ่งเบื้องหลังยังพบกลุ่มไฟจำนวนมากเป็นแนวยาว ในขณะเดียวกันนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้กล่าวถึงสถานการณ์ไฟป่าที่อ.แม่วางว่า สำหรับสถานการณ์ไฟป่าในอำเภอแม่วางได้ส่งเฮลิคอปเตอร์ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เข้าไปทิ้งน้ำดับไฟ 10 กว่ารอบ ซึ่งเช้าวันนี้(3มี.ค.67)นายอำเภอแม่วางได้รายงานกลับมาว่าจุดที่มีไฟไหม้เมื่อวานวันนี้ได้คลี่คลายลงแล้ว แต่ยังไม่นับจุดที่เกิดใหม่วันนี้ ซึ่งจริงๆแล้วไม่อยากให้เผาเลยเพราะทางที่ดีที่สุดคือไม่เผาแต่เมื่อมีคนไม่เชื่อฟังยังเผาอยู่ เราก็มีปฎิบัติการตอบโต้คือการดับไฟอย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้เฮลิคอปเตอร์ดับเพลิงของเราทั้ง 3 ลำได้ออกปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ที่นายอำเภอพื้นที่มีการร้องขอ อย่างเหมาะสม ทั้งการมีแหล่งน้ำและพื้นที่ของไฟ ที่เกินกำลังของภาคพื้นที่

ทางด้านกลุ่มแก้ไขไฟป่าภาคเหนือซึ่งมีทั้งหัวหน้าส่วนราชการ นักวิชาการ ภาคประชาสังคมและสื่อมวลชน น.ส.ปริศนา หรหมมา จากสภาลมหายใจเชียงใหม่ได้กล่าวถึงไฟไหม้ป่าข้ามคืนและเกิดจากพื้นที่ชิงเผาว่า ยิ่งโลกร้อนยิ่งต้องจัดการเพื่อลดความเสี่ยงหลายอย่าง การบริหารจัดการ มีทั้งพื้นที่ปฏิบัติการที่ดี และพื้นที่ผิดพลาดด้วยหลายปัจจัยสาเหตุ เชียงใหม่จึงให้มีการแยกแยะออกเป็น 3 ฮอตฯ(Hotspot)คือ เขียว ส้ม แดง ซึ่งส้มคือพื้นที่ขอฯแล้วไฟหลุดควบคุมไม่ได้หรืออื่นๆเพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลไว้สรุปบทเรียนถึงปัจจัยสาเหตุ

“เท่าที่ได้ข้อมูลมาจากหลายทางไฟที่หลุดหรือเกิดขึ้นหลังจากการบริหารของชุมชนและหน่วยงานมีหลายสาเหตุ (&)ประมาทวางแผนผิดพลาด เชื้อเพลิงมีเยอะและแห้งเกินไปพื้นที่กว้าง,(&)มีคนแอบจุดในบริเวณใกล้เคียงกันหลังบริหารเสร็จ อาจเพราะหมั่นไส้หรือกลั่นแกล้งผสมโรง,(&)ไม่มีความชำนาญวางแผนไม่รัดกุมเนื่องจากยังเป็นปีแรกๆ และคงมีสาเหตุอื่นๆอีกต้องไปสรุปกันอีกทีหลังฤดูไฟ”

การจัดการที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยภายใต้กำลังคนและงบประมาณแบบที่เป็นอยู่ ภาคประชาสังคมเชียงใหม่จึงติดตาม ผลักดัน หาวิธีการทำงาน รวมทั้ง voice ไปที่รัฐบาล กระทรวง ,คณะกรรมการกระจายอำนาจมาตลอดเรื่องงบต้องถึงชุมชนถึงอปท.และถึงผู้ปฏิบัติหน้างาน และอีกหลายเรื่องโดยเฉพาะแนวทางการใช้ไฟบริหารจัดการในพื้นที่ป่าผลัดใบ แน่นอนว่าการจัดการในปีแรกของหลายที่พื้นที่อาจจะยังไม่มีประสิทธิภาพแต่เราเก็บข้อมูล แง่มุมเหล่านี้ไว้เพื่อสรุปบทเรียนและพัฒนาต่อ(&)แนวทางใหม่อาจจะขรุขระไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็ดีกว่าการทำแบบเดิมๆแต่หวังผลลัพธ์ที่ต่างไป โดยระบุว่าท้องฟ้าและอากาศของเชียงใหม่ปีนี้แม้จะถึงต้นเดือนมีนาคมเราก็ยังพอหายใจได้🔥ไฟไม่ได้เท่ากับฝุ่นเสมอไป ดูได้จากตัวเลขค่าฝุ่นวันที่ 3 มี.ค.67.

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้