สมาพันธ์ SMEs ไทยร่วมกับธนาคารออมสินและ Tops ท้องถิ่น ได้จัดอบรมโครงการ Scale up สู่ตลาดใหญ่ ไฉไล และยั่งยืนกว่าเดิม ภาคเหนือ เพิ่มความรู้และนวัตกรรมให้เอสเอ็มอีนำไปปรับใช้ในธุรกิจเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขัน เปิดช่องทางการตลาดใหม่ สร้างภูมิคุ้มกันให้เอสเอ็มอีไทยภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว
เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.67 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ สมาพันธ์ SMEs ไทยร่วมกับธนาคารออมสินและ Tops ท้องถิ่น ได้จัดอบรมโครงการ Scale up สู่ตลาดใหญ่ ไฉไล และยั่งยืนกว่าเดิม ภาคเหนือ”ขึ้น โดยนายสมชาย อาภรณ์พงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานพัฒนาธุรกิจ ผู้ประกอบการรายย่อยและ SMEs Start up นางพรวิภา ตั้งเจริญมั่นคง ผอ.อาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือกล่าวต้อนรับ นายแสงชัย ธีรกุลวานิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวสนับสนุนการจัดงานและนายอาคม ศุภางค์เผ่า ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน โดยมีนายสมชาย อาภรณ์พงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานพัฒนาธุรกิจ ผู้ประกอบการรายย่อยและ SMEs Start up กล่าวเปิดงาน
นายสมชาย อาภรณ์พงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานพัฒนาธุรกิจ ผู้ประกอบการรายย่อยและ SMEs Start up กล่าวว่า โครงการ Scale up สู่ตลาดใหญ่ ไฉไล และยั่งยืนกว่าเดิม ภาคเหนือในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารออมสิน สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยและโครงการท็อปส์ ท้องถิ่น ภายใต้บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ดรีเทล ที่จะเข้ามาพัฒนาโครงการนี้ร่วมกัน
ธนาคารออมสินมียุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนภารกิจเชิงสังคม โดยมุ่งเน้นบทบาทในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการรายย่อยอย่างครบวงจร พร้อมกับการพัฒนาความรู้และสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้ผู้ประกอบการ สร้างความเข้มแข็งให้กับ SMEs ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ ก่อเกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนเพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันในทุกภาคส่วนและประสานความร่วมมือในการสนับสนุนผู้ประกอบการ Startup และ SMEs
ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานพัฒนาธุรกิจ ผู้ประกอบการรายย่อยและ SMEs Start up กล่าวอีกว่า การดำเนินกิจกรรมสำหรับโครงการนี้ จะมีทั้งการอบรมให้ความรู้ทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ การให้องค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการร่วมกันในโครงการต่างๆ การสร้างช่องทางการขายให้แก่ผู้ประกอบการผ่านกิจกรรม Business Matching และที่ขาดไม่ได้คือการสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยธนาคารออมสินมีสินเชื่อพร้อมสนับสนุนเช่น สินเชื่อธุรกิจรายย่อย สินเชื่อ BCG รองรับให้กับผู้ประกอบการทุกกลุ่มในการเข้าถึงแหล่งทุน สร้างความเติบโตให้กับธุรกิจ สร้างความเข้มแข็งให้ภาคเอสเอ็มอี พัฒนาธุรกิจให้เติบโตยิ่งขึ้น
“โครงการนี้จัดขึ้น 4 ภูมิภาคโดยที่ภาคเหนือหรือที่เชียงใหม่เป็นเวทีที่ 2 และธนาคารได้ร่วมกับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยเป็นปีที่ 2 ด้วย อย่างโครงการนี้มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสมัครเข้าร่วมโครงการ 4 พันกว่าราย แต่ก็มีการคัดเลือกที่มีความพร้อมให้เหลือประมาณ 100 รายในแต่ละภูมิภาค สำหรับภาคเหนือวันนี้มีการคัดเลือกผู้ประกอบการที่ได้เข้าร่วมโครงการ 120 กิจการเพื่อนำสินค้ามาโชว์ และทางท้อปส์ ท้องถิ่นเข้าร่วมคัดเลือกสินค้าเพื่อนำเข้าสู่ช่องทางจำหน่ายของท้อปส์ต่อไป”นายสมชายกล่าวและว่า
นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำของธนาคารออมสินด้วย ในครั้งนี้มีการออกบูธให้คำปรึกษา แนะนำและมีผลิตภัณฑ์ทุกประเภท ทุกรูปแบบมาให้บริการ ทางธนาคารยังจะมีการคัดเลือกสินค้าของผู้ประกอบการส่งไปจำหน่ายยังร้านค้าสวัสดิการของธนาคารที่สำนักงานใหญ่ เป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดอีกทางหนึ่งด้วย โดยขณะนี้มีการส่งผลิตภัณฑ์ไปเบื้องต้น 20 รายการ ซึ่งธนาคารออมสินมีพนักงานกว่า 2 หมื่นคนที่สามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านร้านค้าสวัสดิการของธนาคารและยังเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยได้มากยิ่งขึ้น
นายสุเชษฐ์ คำฟู ผู้อำนวยการภาค 8 ธนาคารออมสินภาค 8 กล่าวว่า นโยบายของธนาคารออมสิน ภาค 8 จะให้การช่วยเหลือสนับสนุนผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ โดยมีหน่วยพัฒนาสังคมและชุมชมที่จะสร้างงาน สร้างรายได้ โดยร่วมมือกับสมาพันธ์เอสเอ็มอีและหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทั้งหอการค้า สภาอุตสาหกรรมและเครือข่ายอื่นๆ เพื่อส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมการตลาด ส่วนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนธนาคารก็จะมีสินเชื่อให้ โดยธนาคารออมสินมีวงเงินสินเชื่อสนับสนุนให้กับผู้ประกอบการตั้งแต่รายย่อย ที่เป็นธุรกิจขนาดเล็กซึ่งมีวงเงินไม่เกิน 2 แสนบาท ธุรกิจห้องแถววงเงินสินเชื่อไม่เกิน 1 ล้านบาท ส่วนที่เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีก็จะเข้าสู่โครงการสินเชื่อ SMEs ซึ่งธนาคารจะให้ความรู้และมีการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการเพื่อให้เข้าถึงแหล่งทุนได้
ด้านนายแสงชัย ธีรกุลวานิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่สภาพัฒน์ประกาศ GDP ของไทยขยายตัวเพียงร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่น่าพอใจและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเห็นว่าสถานการณ์จากกำลังซื้อที่หดตัวและรายได้ของประชาชนลดลง แม้ว่าภาคธุรกิจ บริการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวดีขึ้นและเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้ แต่ภาคการผลิตและอุตสาหกรรมส่งออกมองเห็นสัญญาณชัดเจนว่าขยายตัวเพียงร้อยละ 1 แม้กระทั่งเอสเอ็มอีภาคค้าชายแดน จะเห็นว่าประเทศไทยยังขาดดุลการค้ากับสปป.ลาว
สิ่งสำคัญคือเราต้องมีมาตรการสร้างภูมิคุ้มกันและเพื่อให้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก ทั้งมาตรการช่วยเรื่องกำลังซื้อและส่งเสริมผู้ประกอบการภาคแรงงาน ยกระดับขีดความสามารถเพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อให้เป็นเศรษฐกิจนวัตกรรม สร้างมูลค่าเพิ่ม หากลไกที่ภาครัฐควรส่งเสริมต่อยอด เพื่อให้เป็นตลาดใหม่คู่ค้าสำคัญในอนาคต
“หากเรามองเรื่องของเอฟทีเอแล้ว FTA ของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบประเทศเวียดนาม เราเสียเปรียบประเทศเวียดนามอยู่เยอะ เพราะฉะนั้นเรื่องของการค้าการลงทุน ของประเทศไทย เวียดนาม มีเอฟทีเอเหมือนประเทศไทยกว่า 18 ประเทศ แต่ไทยไม่มี 35 ประเทศเหมือนเวียดนาม เพราะฉะนั้นไทยตามเวียดนามอยู่ 35 ประเทศ วันนี้เราจะตกลงเจรจาทางการค้าของ FTA อย่างไร ที่จะทำให้เกิดการส่งเสริมการค้าการลงทุน จากนักลงทุนต่างประเทศ แต่นอกจากนั้น ควรมีการส่งเสริมเรื่องของเอสเอ็มอี ในการเติบโตและขยายตัวในประเทศ และในต่างประเทศด้วย หรือที่เรียกว่า TDI ( Thai Direct Investment Abroad ) หากมุ่งเรื่องของ FDI โดยการมองข้ามเรื่อง TDI ไป ก็จะทำให้เศรษฐกิจเกิดโครงสร้างที่บิดเบี้ยว งั้นเราควรมาส่งเสริมผลิตภาพ ประกอบการ เอสเอ็มอี และภาคแรงงานอย่างเหมาะสม”ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวและว่า
ในครั้งนี้จะทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยเข้าถึงแหล่งเงิน ฉะนั้น บสย. ต้องเข้ามามีบทบาท ที่สำคัญในการค้ำประกัน ซึ่งที่ผ่านมา คิดว่าช่องว่างของการค้ำประกัน เอสเอ็มอีร้อยละ 38% อยู่ที่สัดส่วนภาครัฐ สัดส่วนแบงค์พาณิชย์ 14% ที่เหลือจะเป็นนอกระบบและสถาบันการเงินอื่นๆ เพราะฉะนั้นเห็นว่า ธนาคาร ของภาครัฐ คือจุดแข็งของประเทศไทย ในการอุ้มชูเอสเอ็มอี และช่วยเหลือเอสเอ็มอีในทุกมิติ เพราะธนาคารภาครัฐไม่ใช่ได้ทำเฉพาะแหล่งทุนต่ำเท่านั้น แต่แบงค์รัฐต้องทำการพัฒนาควบคู่ไปกับแหล่งให้ต้นทุน ฉะนั้นการค้ำประกันสินเชื่อต่างๆ รูปแบบของการค้ำประกันคือค้ำ 100 เคลม 100 ให้กับสถาบันการเงินของรัฐ และอาจรวมถึงกองทุนอีกด้วย ซึ่งเรามองว่าเอสเอ็มอีที่ขาดเงินทุนควรจะเข้าถึงกองทุนของรัฐได้เป็นอันดับหนึ่งก่อน เพื่อจะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้สัมผัสถึงแหล่งทุนต้นทุนต่ำ เพื่อลดค่าของชีพในการนำไปใช้ของการทำธุรกิจ เพิ่มเติมมากขึ้น มาพร้อมกับกลไกบ่มเพาะในการขอสินเชื่อ DNA เรื่องของทักษะบริหารจัดการ ทางการเงิน ฯลฯ เรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงเพราะจะเป็น ภูมิคุ้มกันให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้มีธุรกิจที่ยั่งยืน ในระยะยาว
ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีรายย่อยมีสัดส่วน 85% ของ ผู้ประกอบการ ทั้งประเทศ เศรษฐกิจฐานรากที่ยังซบเซาอยู่นั้น มีจุดเปราะบางอยู่ที่รายย่อย ความช่วยเหลือเรื่อง GDP อยู่ที่ 3% ของทั้งประเทศ แต่ผู้ประกอบการมีถึง 85% ฉะนั้นแล้วเราต้องทำแหล่งทุนเอสเอ็มอีให้ต่ำ และได้รับการพัฒนา เค้าถึงมาตรฐานเข้าถึงเรื่องระบบคุณภาพ เล่าถึงเรื่องตลาดใหม่ใหม่รวมถึง นวัตกรรมความสร้างสรรค์เพื่อให้ผู้ประกอบการ มีความยั่งยืนในอนาคต.