องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง อบจ.เชียงใหม่กับมหาวิทยาลัย ปทุมธานี และทันตแพทยสภาเพื่อพัฒนาและยกระดับบริการรถทันตกรรมเคลื่อนที่เป็นรถทันตกรรมเคลื่อนที่ไฟฟ้า (EV: Electric Vehicle) นำร่องในพื้นที่ให้อบจ.เชียงใหม่เป็นจังหวัดต้นแบบ/นำร่อง ในการพัฒนาและประสานความร่วมมือ ของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
วันที่ 9 กันยายน 2567 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เชียงใหม่ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับมหาวิทยาลัยปทุมธานี และทันตแพทยสภา ลงนามความร่วมมือ เพื่อพัฒนาและยกระดับบริการรถทันตกรรมเคลื่อนที่ ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการอยู่ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ศึกษา ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาการให้บริการรถทันตกรรมเคลื่อนที่โดยใช้พลังงาน ทางเลือก พัฒนาเป็นรถทันตกรรมเคลื่อนที่ไฟฟ้า (EV: Electric Vehicle) นำร่องในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดต้นแบบ/นำร่อง ในการพัฒนาและประสานความร่วมมือ ของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
โดยมีนายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร นายกอบจ.เชียงใหม่และนายสมชาติ วัฒนากล้า รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทพ.สุชิต พูลทอง นายกทันตแพทยสภา และดร.ชนากานต์ ยืนยง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยปทุมธานี ร่วมลงนามความร่วมมือดังกล่าว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทพ.สุชิต พูลทอง นายกทันตแพทยสภา กล่าวว่า ปัจจุบันมีการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 61 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 19 ตุลาคม 2564 เป็นต้นมา โดยมีคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) เป็นกลไกหลักในการกำหนดนโยบายกำกับดูแลและพัฒนางาน ด้านสาธารณสุขขององค์การบริหารส่วนจังหวัด พร้อมจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่และการจัดบริการ สาธารณสุข ให้สอดคล้องกับปัญหาด้านสุขภาพและความต้องการของประชาชนในพื้นที่
ขณะเดียวกันประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบสุขภาพช่องปาก เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากของประชาชน มาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีนโยบายของรัฐบาลด้านการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ได้กำหนด นโยบายให้มีการลดค่าใช้จ่ายพลังงานไฟฟ้าและน้ำมันของทุกส่วนราชการ โดยการสร้างต้นแบบการใช้พลังงานทาง เลือก และส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจัดหา รถพลังงานไฟฟ้า (EV) มาใช้ทดแทนรถยนต์พลังงานเชื้อเพลิง นำไปสู่การสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการเตรียม โครงสร้างพื้นฐาน การสร้างคุณภาพงานบริการที่ตอบโจทย์ให้ตรงตามความต้องการ ของภาคประชาชน จึงถือเป็น โอกาสสำคัญ ในการพัฒนาบริการรถทันตกรรมเคลื่อนที่ระดับท้องถิ่น.