MIdS CMU จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 1 ปี วิทยาลัยพหุวิทยาการและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

MIdS CMU จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 1 ปี วิทยาลัยพหุวิทยาการและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

MIdS CMU จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 1 ปี วิทยาลัยพหุวิทยาการและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์บทบาท ภารกิจ หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยฯ แก่คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย พร้อมทำพิธลงนามความร่วมมือ MOU ระหว่างวิทยาลัยพหุวิทยาการและสหวิทยาการกับเครือข่าย 8 หน่วยงาน

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม 2567 วิทยาลัยพหุวิทยาการและสหวิทยาการ (Multidisciplinary and Interdisciplinary School : MIdS) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานวันสถาปนาครบรอบ 1 ปี MIdS ณ อาคารวิทยาลัยพหุวิทยาการและสหวิทยาการ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวแสดงความยินดีและร่วมพิธีลงนามความร่วมมือ (MoU) และ รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาต โสภาแดง คณบดีวิทยาลัยพหุวิทยาการและสหวิทยาการ กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ และวัตถุประสงค์ของการจัดงานให้ครั้งนี้ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์บทบาท ภารกิจ หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยฯ แก่คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สร้างการรับรู้แก่สาธารณชน สร้างอัตลักษณ์ ภาพลักษณ์ที่ดี ให้แก่วิทยาลัยพหุวิทยาการและสหวิทยาการ มากยิ่งขึ้น

โดยกิจกรรมภายในงานประกอบไปด้วย พิธีทำบุญเนื่องในวันสถาปนาครบรอบ 1 ปี และงานเปิดตัว MIdS (Open House) และพิธีลงนามความร่วมมือ (MoU) ระหว่าง วิทยาลัยพหุวิทยาการและสหวิทยาการ (MIdS) และ เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ จำนวน 8 หน่วยงาน ได้แก่
1. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ในการดำเนินงานขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก และการส่งเสริมกิจกรรม Carbon Credit ระหว่าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ จังหวัดเชียงใหม่
3. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ สภาเภสัชกรรม
4. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง บริษัท เน็ต ไบร์ท จำกัด และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง บริษัท เออาร์ไอที จำกัด กับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. บันทึกข้อตกลงเรื่อง การบริหารจัดการหลักสูตร/โปรแกรมOversea Ayurveda ระหว่าง สถานกงสุลอินเดีย ศูนย์อินเดียศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ The Art of Living คณะเภสัชศาสตร์ และ วิทยาลัยพหุวิทยาการและสหวิทยาการ
7. บันทึกข้อตกลง เรื่อง การบริหารจัดการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาจีนร่วมสมัย ระหว่าง คณะศึกษาศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี สถาบันขงจื่อ และ วิทยาลัยพหุวิทยาการและสหวิทยาการ
8. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โครงการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะ เพื่ออนาคต (UPSKILL/RESKILL) ประจำปี 2567 ระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ วิทยาลัยพหุวิทยาการและสหวิทยาการ

ภายในงานมีการมอบรางวัลให้กับส่วนงานที่ร่วมบริหารจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรพหุวิทยาการและสหวิทยาการ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการบรรยายพิเศษในหัวข้อ Thailand’s development and circular values for all โดยคุณหญิงทองทิพ รัตนะรัต กรรมการอำนวยการและที่ปรึกษาสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และเยี่ยมชมบูธนิทรรศการกิจกรรม Open House ของแต่ละสาขาวิชา

ซึ่งวิทยาลัยพหุวิทยาการและสหวิทยาการ มีหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งหมด 6 สาขาวิชา ได้แก่
1. สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ (Program in Forensic Science)
2. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา (Program in Sports Science)
3. สาขาวิชาการสอนภาษาจีนร่วมสมัย (Program in Contemporary Chinese Language Teaching)
4. สาขาวิชาสุขภาพจิต (หลักสูตรนานาชาติ) (Program in Mental Health)(International program)
5. สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (Program in Biotechnology)
6. สาขาวิชาบูรณาการศาสตร์ (Program in Integrated Science) ซึ่งสาขานี้มี 9 กลุ่มเรียนรู้และงานวิจัยให้ได้เลือกเรียน ได้แก่ การสื่อสารดิจิทัล (Digital Communication) บล็อกเชน ปัญญาประดิษฐ์ และความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Blockchain AI and Cyber Security) ภูมิทัศน์เมืองยั่งยืน (Sustainable Urban Landscape) การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Management) การจัดการความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (The Management of Carbon Neutrality and Net Zero GHG Emissions) นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (Health Tech Innovation) การจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมชุมชน (Man and Community Environment Management) เทคโนโลยีเซมิคอนดัคเตอร์กำลังสูงสำหรับประยุกต์ใช้ในยานยนต์ไฟฟ้า (High Power Semiconductor Technology for EV Applications) และสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาในอนาคต (Multidisciplinary Studies for Future Development)

You may also like

มทร.ล้านนา ร่วมขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมของเครือข่ายราชมงคลสู่นวัตกรรมพร้อมใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาระดับพื้นที่

จำนวนผู้