เปิดตัวกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักสร้างสรรค์และธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ในกลุ่มคาแรคเตอร์ (Biz Level Up from Creator to Character) “NEC Creative LANNA หนุนพื้นที่ลงทุนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ปั้นศักยภาพนักสร้างสรรค์ธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์กลุ่มคาแรคเตอร์ สานพลังเอกชน เปิดตัวคาแรคเตอร์ “น้องจ้าง” สะท้อนอัตลักษณ์และวัฒนธรรมล้านนา
เมื่อวันที่ 12 ธ.ค.67 ที่โรงแรมศิริปันนาเชียงใหม่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผวจ.เชียงใหม่ พร้อมด้วยนายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 และดร.ณรงค์ ตนานุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเซ็นทริค จำกัด หัวหน้าโครงการกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ล้านนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคเหนือ (Creative LANNA Forward) ได้ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัว กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักสร้างสรรค์และธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ในกลุ่มคาแรคเตอร์ (Biz Level Up from Creator to Character) ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ล้านนาสู่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคเหนือ (Creative LANNA Forward) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
โดย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ บริษัท ดีเซ็นทริค จำกัด จัด ขึ้นเพื่อเสริมสร้างทักษะผู้ประกอบการและบุคลากรในธุรกิจ ดิจิทัลคอนเทนต์ให้มีศักยภาพและความพร้อม ในการแข่งขันในตลาดเป้าหมาย ส่งเสริมการต่อยอดทางทุนวัฒนธรรมและภูมิ ปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่มสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเพื่อ ผลักดัน สนับสนุนการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสามารถให้บริการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในปี 2565 คณะกรรมการนโยบายการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ได้เห็นชอบการประกาศพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค สำหรับภาคเหนือได้กำหนดให้พื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และเชียงราย เป็นระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor : NEC – Creative LANNA) เพื่อยกระดับให้เป็นพื้นที่ลงทุนด้านการพัฒนาให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศ อย่างยั่งยืน ซึ่งมีความเหมาะสมทางด้านศักยภาพเชิงพื้นที่และปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ สังคม และวัฒนธรรม
เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการจัดทำ (ร่าง) แผนแม่บทการ พัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือในช่วงปี พ.ศ. 2565 – 2575 ที่มุ่งขับเคลื่อน 3 ประเด็นหลักในพื้นที่ ได้แก่ การพัฒนาเวลเนสในมิติเศรษฐกิจสร้างสรรค์ล้านนา การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ล้านนา และการพัฒนาการ ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ล้านนา ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่มุ่งสร้างระบบนิเวศการสร้างสรรค์ (Creative Ecosystem) ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานและการส่งเสริมการลงทุน พัฒนาสินค้าและบริการสร้างสรรค์ควบคู่กับสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ ส่งเสริมการตลาด สร้างตราสินค้า และประชาสัมพันธ์ ตลอดจนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สมรรถนะสูงเพื่อสนับสนุน NEC ไปสู่การขับเคลื่อนที่ใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์เป็นฐาน
ด้านนายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กล่าวเสริมว่า แม้ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคเหนือจะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในหลายด้าน รวมถึงมีมูลค่าผลิตภัณฑ์ภาคและมูลค่าผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัวประชากรสูงที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มจังหวัดอื่นๆ ในพื้นที่ภาคเหนือ หากแต่เมื่อพิจารณาจากโครงสร้างเศรษฐกิจแล้ว พบว่า ภาคการท่องเที่ยว และบริการยังคงเป็นฐานรายได้หลัก ส่วนภาคอุตสาหกรรมยังมีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของพื้นที่ค่อนข้างน้อย จึงเป็นความท้าทายในการขยายฐานรายได้ของภาคอุตสาหกรรมให้มีสัดส่วนมากขึ้นเพื่อเพิ่มบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของพื้นที่ ดังนั้น การสร้างมูลค่าเพิ่ม ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ถือเป็นทางออกที่จะช่วยให้สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดเหล่านี้ได้ เนื่องจากผู้บริโภคในปัจจุบันมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น โดยให้ความสนใจ ในผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนเรื่องราว (Story) (ศไม่ปปัจจุบันมีความต้องการที่เฉาะตัวที่เชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ของพื้นที่ มิใช่เพียงผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาดอย่างที่ผ่านมา
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จึงเล็งเห็นโอกาสของกลุ่มธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่กำลังขยายตัว ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จึงได้จัดทำ “กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักสร้างสรรค์และธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ในกลุ่มคาแรคเตอร์ (Biz Level Up from Creator to Character)” โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่หนึ่ง มุ่งเน้นการพัฒนา ศักยภาพนักสร้างสรรค์ (Creator) โดยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อเพิ่มสมรรถนะการให้บริการด้านการผลิต ดิจิทัลคอนเทนต์ในตลาดเป้าหมายให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และในส่วนที่สอง มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ ในกลุ่มคาแรคเตอร์ (Character) ด้วยทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งประยุกต์ใช้ คาแรคเตอร์ในการต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่สะท้อนเรื่องราว (Story) และอัตลักษณ์ (Identity) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับสินค้าและบริการหรือองค์กร โดยมุ่งหวังว่าการพัฒนาธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ทั้งในส่วนนักสร้างสรรค์ (Creator) และคาแรคเตอร์ (Character) จะเป็นโอกาสในการสร้างและต่อยอดรายได้ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลกระทบ เชิงบวกกับเศรษฐกิจภูมิภาค (Local Economy) ได้อีกทางหนึ่ง
ขณะที่ ดร.ณรงค์ ตนานุวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีเซ็นทริค จำกัด หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า เมื่อช่วง เดือนพฤศจิกายน ได้มีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาทักษะนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ (Creator) ขึ้น เป็นเวลา 8 วัน (48 ชั่วโมง) เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากวิทยากรทั้งระดับประเทศและในพื้นที่ในด้านต่างๆ อาทิ การวางแผน และสร้างสรรค์คอนเทนต์ เทคโนโลยีดิจิทัลและเครื่องมือสำหรับนักสร้างสรรค์จากแพลตฟอร์มต่างๆ ทั้ง Youtube Instagram TikTok การเลือกใช้เครื่องมือพัฒนาการทำงานด้านต่างๆ การวิเคราะห์แบรนด์เพื่อการผลิตคอนเทนต์และการ สื่อสาร จริยธรรมและจรรยาบรรณสื่อดิจิทัล สำหรับเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้แก่กลุ่ม Creator ที่ผ่านการคัดเลือกจำนวนทั้งสิ้น 21 คน ให้สามารถนำไปใช้ต่อยอดการร่วมพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่มีคาแรคเตอร์ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพธุรกิจด้วยคาแรคเตอร์ (Character) จำนวน 10 กิจการ ที่เข้าร่วมโครงการ เช่นเดียวกันได้ ซึ่ง SMEs ทั้ง 10 กิจการ ได้เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์คาแรคเตอร์ (Character) เป็นเวลา 5 วัน (30 ชั่วโมง) เพื่อเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีคาแรคเตอร์ ผ่านการอบรมในหัวข้อต่างๆ อาทิ การออกแบบคาแรคเตอร์เพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ การพัฒนาคาแรคเตอร์ให้ตอบรับกับคุณค่า แบรนด์ การใช้เครื่องมือด้านการออกแบบ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือในการสร้างคาแรคเตอร์ การต่อยอด และเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร เป็นต้น
ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นงานแถลงข่าวเปิดตัวกิจกรรมฯ ในวันนี้ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มีแนวคิด ในการพัฒนาศักยภาพธุรกิจด้วยคาแรคเตอร์ ทั้ง 10 กิจการ จะเข้าสู่การรับคำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการสร้างสรรค์ คาแรคเตอร์หรือต่อยอดธุรกิจด้วยคาแรคเตอร์สู่เชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า บริการ หรือองค์กร กิจการละ 1 ผลิตภัณฑ์ จากทางทีมผู้เชี่ยวชาญของทางบริษัทฯ ร่วมกับ นักสร้างสรรค์ (Creator) ในช่วงเดือนธันวาคม 2567 ถึง กุมภาพันธ์ 2568 จนได้เป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เพื่อนำไปใช้ทดสอบตลาดและเป็นต้นแบบในการผลิตสู่เชิงพาณิชย์
หลังจากนั้นช่วงเดือนมีนาคม 2568 SME ที่ได้รับการพัฒนาต้นแบบคาแรคเตอร์ที่จับคู่กับ Creator ในกิจกรรม ก่อนหน้า จะมีการนำต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาไปสร้างเรื่องราวของคาแรคเตอร์ให้เชื่อมโยงเข้ากับวัฒนธรรม ภูมิปัญญา อัตลักษณ์ในท้องถิ่น ในรูปแบบสื่อดิจิทัล เพื่อประกวดผลงานชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 120,000 บาท และกิจกรรม สุดท้าย คือ การสร้างการรับรู้และสร้างโอกาสทางการตลาดในเดือนเมษายน 2568 โดยนำผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา ไปทดสอบตลาด เพื่อผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มระหว่างผู้ประกอบการในธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ในกลุ่มคาแรคเตอร์กับธุรกิจอื่นๆ
ดร.ณรงค์ กล่าวต่อว่า นอกจากการดำเนินงานภายใต้กิจกรรมแล้ว บริษัท ดีเซ็นทริค จำกัด มีความตั้งใจที่จะมอบ คาแรคเตอร์ “น้องจ๊าง” ที่บริษัทได้ออกแบบให้สะท้อนถึงอัตลักษณ์และวัฒนธรรมความเป็นล้านนา ให้กับทางกลุ่มจังหวัด ภาคเหนือตอนบน 1 นำไปใช้เป็นคาแรคเตอร์ของกลุ่มจังหวัด โดย “น้องจ๊าง” ถูกออกแบบโดยคุณวิชญา ศรีเรือนทอง หนึ่งใน ทีมผู้เชี่ยวชาญของบริษัทฯ มีแรงบันดาลใจจากอัตลักษณ์วัฒนธรรมล้านนา ที่สะท้อนถึงความแข็งแกร่งและความเชื่อมโยงกับ ธรรมชาติ “น้องจ๊าง” จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง ถือเป็นการ ใช้ทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยคาแรคเตอร์นี้มุ่งหวังที่จะเป็นตัวแทนของความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในสังคม ผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริม การมีส่วนร่วมและการสร้างสรรค์ในพื้นที่อย่างแท้จริง ทางบริษัทฯ คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าต้นแบบคาแรคเตอร์นี้จะสามารถ นำไปต่อยอดเพื่อแสดงถึงตัวตนความเป็นวัฒนธรรมล้านนาของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่าง แท้จริงต่อไป