STeP ร่วมกับ มช. จัดพิธีมอบรางวัลการออกแบบ พร้อมเชิญชมนิทรรศการผลงานสรางสรรค ทรงคุณค่า สะท้อนอัตลักษณล้านนา ในงาน Creative Design Awards 2022

STeP ร่วมกับ มช. จัดพิธีมอบรางวัลการออกแบบ พร้อมเชิญชมนิทรรศการผลงานสรางสรรค ทรงคุณค่า สะท้อนอัตลักษณล้านนา ในงาน Creative Design Awards 2022

STeP ร่วมกับ มช. จัดพิธีมอบรางวัลการออกแบบ พร้อมเชิญชมนิทรรศการผลงานสรางสรรค ทรงคุณค่า สะท้อนอัตลักษณล้านนา ในงาน Creative Design Awards 2022 โดยทั้ง 23 ผลงานจะจัดแสดงนิทรรศการผลงานที่ เฮือนแม่นายคำเที่ยง ณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 3 – 11 ธันวาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 17.30 น.

วันที่ 4 ธันวาคม 2565 ที่สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงาน ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 3 เชิงรุก: ลานนาสรางสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานประกาศผลพร้อมพิธีมอบ รางวัลการออกแบบสร้างสรรค์ (Creative Design Awards) ประจำปี 2022 แก่นักออกแบบเจ้าของผลงานอันโดด เด่น ทรงคุณค่า ทั้งสะท้อนอัตลักษณ์ล้านนา ณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการนี้ ได้รับเกียรติจากนายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงาน โดยมี ผศ.ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี ด้านยุทธศาสตร์ลานนาสร้างสรรค์และศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้การกล่าว ต้อนรับ ร่วมด้วย ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรักษาการแทน ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำทีมคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยและ ผู้บริหารอุทยานฯ (STeP) พร้อมทั้งคณะที่ปรึกษาและกรรมการตัดสินรางวัล ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบที่มี ชื่อเสียงทั่วประเทศจากหลากหลายสาขา ร่วมงานดังกล่าว เพื่อเป็นสักขีพยานและแสดงความยินดีกับผูรับมอบรางวัล

ก่อนปิดท้ายด้วยการเยี่ยมชมนิทรรศการผลงานการออกแบบรวมกัน กิจกรรมภายในงานมีด้วยกัน 3 ส่วน โดยมีพิธีมอบรางวัล Creative Design Awards 2022 เป็นกิจกรรม ชูโรง ซึ่งในปีนี้จัดแบ่งประเภทรางวัลออกเป็น 8 สาขา ประกอบด้วย สาขาการออกแบบสถาปัตยกรรม สาขาการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาการออกแบบสื่อสมัยใหม สาขาการออกแบบอัตลักษณ์องค์กรและการสร้างตราสินค้า สาขาการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สาขาดีไซน์เนอร์หน้าใหม่ สาขาล้านนาสร้างสรรค์ และสาขาผลงานจากโปรเจค นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัย ซึ่งมอบให้ผลงานออกแบบสร้างสรรค์และโดดเด่นในสาขาต่าง ๆ ทั้งสิ้น 30 ผลงาน เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจแก่นักออกแบบรุ่นใหม่ได้สร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าเช่นนี้ ในอนาคตต่อไป โดยผลงานดังกล่าว จะถูกจัดแสดงในพื้นที่นิทรรศการ (Creative Design Exhibition) ณ อาคาร เรือนฝาไหลของแม่นายคำเที่ยง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล งานออกแบบเชียงใหม่ 2022 (Chiang Mai Design Week 2022) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 11 ธันวาคม 2565 โดย เปิดให้ประชาชนและผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรม Creative Design Networking ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับรางวัลและบุคลากรในแวดวงการออกแบบได้พบปะ พูดคุย เพื่อ พัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดรวมกันอีกด้วย

ทั้งนี้ นักออกแบบและเจ้าของผลงานที่ได้รับการคัดเลือก จะได้รับสิทธิในการเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิง ปฏิบัติการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาด อีกทั้งยังได้รับการส่งเสริมในการต่อยอดรางวัลไปสู่เวทีใน ต่างประเทศ รวมไปถึงการสนับสนุนทั้งในด้านการตลาด การจัดนิทรรศการออนไลน์ การเข้าร่วมงานกิจกรรม ต่าง ๆ และการประชาสัมพันธ ์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

สำหรับรางวัลการออกแบบสร้างสรรค ์(Creative Design Award) นั้น จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 นับตั้งแตริเริ่มในปี 2555 โดยในปีนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานขับเคลื่อนยุทธศาสตรที่ 3 เชิงรุก: ลานนา สร้างสรรค์ ภายใต้การดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) เพื่อ ยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรด้านความคิดสร้างสรรค์ครอบคลุมใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน ได้เห็นถึงความสำคัญของการออกแบบที่มีต่อ ผลิตภัณฑ์ตลอดจนสร้างชื่อเสียงให้กับนักออกแบบ อีกทั้งเป็นการเชิดชูอัตลักษณ์ความเป็นล้านนาที่มีความ แตกต่างกันทางด้านมรดกวัฒนธรรมของพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณค่าอันโดดเด่นของล้านนาสร้างสรรค์ สะท้อนถึง เอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น อนุรักษ์และส่งเสริมความเป็นท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป

รางวัลการออกแบบสร้างสรรค์ (Creative Design Awards) จัดขึ้นตั้งแต่ปี 2555 – 2565 เป็นเวลา 10 ปีถือว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรด้านความคิดสร้างสรรค์ครอบคลุมใน 8 จังหวัด
ภาคเหนือตอนบนได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน ได้เห็นถึงความสำคัญของการออกแบบที่มีต่อผลิตภัณฑ์ตลอดจนสร้างชื่อเสียงให้กับนักออกแบบ รางวัลออกแบบสร้างสรรค์ดำเนินงานภายใต้การดูแลของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ
จากสำนักยุทธศาสตร์ที่ 3 เชิงรุกล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์
ความรู้ด้านล้านนาอย่างเป็นระบบ สามารถถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านล้านนาให้กับสถานศึกษาและประชาชน ตลอดจนสามารถนำไปสู่การต่อยอดภูมิปัญญาล้านนาอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของพื้นที่ให้เกิดการ
พัฒนาสู่การเป็นต้นแบบให้กับชุมชน เพิ่มมูลค่าและคุณค่าของผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน สนับสนุนการท่องเที่ยว ฟื้นฟูเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่จากฐานรากสู่สากล สำหรับรางวัลการออกแบบสร้างสรรค์เป็นส่วน
หนึ่งในการสนับสนุนการออกแบบ ทั้งด้านงานหัตถกรรม ด้านสถาปัตยกรรม ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารด้านการออกแบบสื่อสมัยใหม่ ให้ความสำคัญกับความเป็นล้านนาที่มีความแตกต่างกันทางด้านมรดกวัฒนธรรมของพื้นที่ เพื่อยกระดับคุณค่าอันโดนเด่นของล้านนาสร้างสรรค์ สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น อนุรักษ์และส่งเสริมความเป็นท้องถิ่นให้คงอยู่


ซึ่งในปี 2565 นี้ คณะทำงานได้ดำเนินการคัดสรรผู้ที่ได้รับรางวัลการออกแบบสร้างสรรค์ได้กำหนดประเภท
ผลงานออกเป็น 8 ประเภทผลงานได้แก่
1. Architecture Design
2. Product Design
3. New Media Design
4. Cooperate Identity and Branding
5. Packaging Design
6. New Face Designer
7. Creative Lanna
8. Student Project and University Project

โดยได้รับความอนุเคราะห์จากคณะกรรมการ คณะที่ปรึกษา ที่ มีองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ในการออกแบบและการตลาดสร้างสรรค์ ทั้ง 20 ท่าน ซึ่งในปีนี้ได้มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดมากกว่า 150 ที่มาจาก 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ผลงานแต่ละชนิดมีการออกแบบและความโดดเด่นอยู่จำนวนมากจึงได้กำหนดการคัดเลือกผู้ที่ได้รับรางวัลได้มี 3 ขั้นตอนได้แก่ รอบ Longist, Shortlist และ Finalist โดยใช้เวลาคัดเลือกผลงานตั้งแต่เดือนสิงหาคม จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2565 ผลงาน นอกจากผลงานของนักออกแบบแล้วในปีนี้ได้มีการเปิดประเภทผลงานของนักศึกษาเข้าร่วมประกวด จากการคัดเลือกผลงานทั้งหมดในปีนี้จึงมีผู้ที่ได้รับรางวัลการออกแบบสร้างสรรค์จำนวน 23 ผลงาน ได้แก่
1. Architecture Design
1.1 คาร์มวิลเลจ
1.2 Tao Cha Tea House
2. Product Design
2.1 Pebble stool
2.2 MIMB
2.3 ArchiTECT’S GAMBIT
2.4 Recycled Plastic waste to Furniture Design
2.5 Sentiment of upcycling
2.6 Talking THOC
2.7 โคมแสงจันทร์ Moon Lantern
3. New Media Design
3.1 “ต่อยอดแสงหลวง” วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จ.เชียงใหม่
3.2 FONT OA-SATAPUD
4. Cooperate Identity and Branding
4.1 Yorice Amazake
4.2 Kyu Shi Gai
5. Packaging Design
5.1 กองหา ครีมบำรุงเครื่องเงิน
6. New Face Designer
6.1 จิร
6.2 Waste Journey
6.3 ตุ้มหูดอกสายลม
7. Creative Lanna
7.1 เตวโวยโวย
8. Student Project and University Project
8.1 โครงการออกแบบอัตลักษณ์ข้อมูลภาพดิจิทัลและเทมเพลสสำเร็จรูปเพื่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับนักออกแบบท้องถิ่น
8.2 ม้านั่งบิชุ
8.3 ไก่กินไก่
8.4 อาคารรับรอง สวนนกหนานฉาง กว่างโจว (ประเทศจีน)
8.5 Illumina

ทั้ง 23 ผลงานจะถูกจัดแสดงนิทรรศการผลงานที่ เฮือนแม่นายคำเที่ยง ณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 3 – 11 ธันวาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 17.30 น.

You may also like

มนต์เสน่ห์เชียงใหม่ เมืองดอกไม้งาม” ภายใต้แนวคิด The Golden of Lanna

จำนวนผู้