“Trance I: สำรวจสภาวะการถูกครอบงำในร่างกาย” ละครเวทีสะท้อนร่างทรง

“Trance I: สำรวจสภาวะการถูกครอบงำในร่างกาย” ละครเวทีสะท้อนร่างทรง

เชียงใหม่ / กลุ่มละครบีฟลอร์ จับมือลานยิ้ม บอกเล่าวิถีร่างทรง ผ่านละครเวที “Trance I: สำรวจสภาวะการถูกครอบงำในร่างกาย” ที่บ้านสวนอัญญา มูลนิธิไชยวนาายที่สั่นเทิ้ม และพลิ้วไหวแบบฟรีสไตล์ ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า  เสมือนเจ้าเข้าทรงในตำหนัก กระนั้นนักแสดงทุกคนย่อมมีสติกำกับตัวอยู่ตลอด เพราะทันทีที่มีคนส่งเสียง ผู้เคลื่อนไหวอยู่ก่อนต้องพร้อมที่จะหยุดชะงักในทันที ไม่ว่าจะอยู่ในท่วงท่าใดก็ตาม ให้ความรู้สึกประหนึ่งว่ามีกรอบ หรือข้อจำกัดที่ครอบพวกเขาไว้ ไม่ให้มีอิสระอย่างเต็มที่ธีระวัฒน์  มุลวิไล ผู้กำกับการแสดง ละครเวที เรื่อง “Trance I: สำรวจสภาวะการถูกครอบงำในร่างกาย” บอกว่า ผู้จัดมีความสนใจเรื่องร่างทรง การเข้าทรงของสังคมไทย โดยที่ผ่านมามีงานวิจัยเรื่องร่างทรงซึ่งพบว่าปัจจุบันประเทศไทยมีร่างทรงกว่า 80,000 ร่างทรง และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาสังคม และสื่อเริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับร่างทรงมากขึ้นนอกจากนี้งานวิจัยดังกล่าวได้มีโอกาสสัมภาษณ์ร่างทรงทั้งในกรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ ทำให้ค้นพบอีกว่า มีร่างทรงบางรายที่ไม่ต้องการเป็นร่างทรง แต่ก็ไม่สามารถฝืนสภาวะถูกครอบงำนั้นได้ นอกจากนี้ ผู้จัดยังมีความสนใจเรื่องร่างกาย จิตใจ ที่ถูกครอบงำโดยสิ่งหนึ่ง และสะท้อนอะไรถึงสังคมไทยสิ่งเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของละครเวทีเรื่องนี้ ซึ่งกลุ่มละครบีฟลอร์ (B-floor) ได้ร่วมกับนักศึกษากลุ่มลานยิ้ม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดขึ้นในค่ำคืนของวันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา ที่บ้านสวนอัญญา มูลนิธิไชยวนา ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยเนื้อหาละครเป็นการแสดงออกถึงท่าทางในการเข้าสู่การเข้าทรงของร่างทรง การเป็นตัวกลางระหว่างโลกสองใบ ซึ่งอยู่ในภาวะเป็นความตระหนักรู้หรือถูกครอบงำจังหวะ (Rhythm) ที่เริ่มจากช้าๆ ขยับมาเป็นรวดเร็วขึ้นเรื่อยๆ คือสิ่งเร้าที่ทรงอิทธิพล ทำให้ตัวละครต้องเคลื่อนไหวตาม บางช่วงจึงดูคล้ายการทำงานของจิตใต้สำนึกที่ขับเคลื่อนไปตามสัญชาตญาณของมนุษย์ บางคราดิ้นรนให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานและสิ่งแปลกปลอม บางครั้งก็ก่อให้เกิดอุปทานหมู่ (Mass hysteria)แม้จะมีนักแสดงเพียง 6 คน คือธงชัย พิมาพันธุ์ศรี, ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์, นลธวัช มะชัย, แววดาว ศิริสุข, สุรัตน์ แก้วสีคร้าม และ กัลสุดา ปานพรม แต่ตลอดช่วงเวลา 1 ชั่วโมงเศษ คือความน่าค้นหา ว่าท่วงท่าภาษากายที่แสดงออกของแต่ละคน มาจากสติที่กำกับไว้กับตัวตลอดเวลา หรือเป็นการครอบงำโดยสิ่งเร้าทั้งมวล  ที่สำคัญการแสดงครั้งนี้เป็นเพียงการอุ่นเครื่อง เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะเปิดแสดงครั้งใหญ่ที่กรุงเทพฯ ในช่วงปี 2562 ซึ่งต้องจับตามองว่าระยะเวลาที่ทอดยาวออกไปอีกหลายเดือน จะมีปัจจัยภายนอก อย่างการเมือง สังคม เข้ามาเป็นตัวแปรที่ทำให้บทละครพลิกผัน หรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่?

You may also like

ครึ่งเดือนแรกม.ค.เชียงใหม่อนุมัติคำร้องชิงเผากว่า 1 พันไร่อีกเกือบ 2 หมื่นไร่จ่อคิว

จำนวนผู้